โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย
ReadyPlanet.com
dot


  [Help]
dot
Greenway Station
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
Greenway Member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย
ทฤษฎีแห่งความยั่งยืน        

ปัญหาสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบเป็นอย่างมาก และนับวันปัญหานี้ได้ทับถมทวีคูณมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการดำรงชีพของประชาชนทั้งหลายที่ต้องประสบกับภาวะวิกฤตที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ดังความหวังของปวงประชาที่ประทานจากฟากฟ้าเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีความสนพระทัยเรื่องสิ่งแวดล้อมทรงเล็งเห็นว่ากลไกธรรมชาติช่วยธรรมชาติเป็นทฤษฎีอันทรงคุณค่า

“ปัญหาสำคัญ คือเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องน้ำเสียกับขยะได้ศึกษามาแล้วเหมือนกัน ทำไม่ยากนักในทางเทคโนโลยี ทำได้แล้ว ในเมืองไทยเอง ก็ทำได้ หาเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาแล้ว ทำในเมืองไทย ก็ทำได้ หรือจะจ้างบริษัทต่างประเทศมาทำก็ได้ นี่แหละปัญหาเดียวกัน เดี๋ยวนี้กำลังคิดจะทำ แต่ติดอยู่ที่ ที่จะทำ”

            และนี่คือหระราชดำริอันเป็นที่มาของโครงการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสียในชื่อที่ว่า โครงการศึกษาวิจัยและ พัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” บนพื้นที่ 642 ไร่ ที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เพื่อนำผลการศึกษามาเป็นฐานกระจายความรู้สู่ชุมชนให้สามารถจัดการของเสียและมลพิษจากสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีที่ง่ายและประหยัด
 
จุดเริ่มต้นโครงการแหลมผักเบี้ย
         หลังจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย เจ้าหน้าที่มูลนิธิชัยพัฒนาและสำนักงานคณะกรรมการ พิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) และกรมชลประทาน ไปศึกษาดูงาน เกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะมูลฝอยที่ประเทศออสเตรเลีย เพื่อนำรูปแบบและวิธีการมาปรับปรุงใช้ให้เหมาะสมในประเทศไทย โดยเริ่มศึกษาและทดลองความเป็นไปได้ในการกำจัดขยะมาตั้งแต่ปี 2533-2536 จากนั้นเข้าสู่ระยะการหารูปแบบการทดลองภาคปฏิบัติเมื่อปี 2537-2539 จนกระทั่งในปี 2540-2542 จึงเริ่มหาประสิทธิภาพและสร้างแบบจำลองระบบบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะ และตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปัจจุบันนี้เป็นช่วงการส่งเสริมเผยแพร่แทคโนโลยีของโครงการฯ
 
กำจัดขยะด้วยวิธีง่ายๆ
         เพราะการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในประเทศไทยซึ่งถือว่ามีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าหลายประเทศในโลก ปัญหาสภาพแวดล้อมหนึ่งคือ “ขยะ” ในการศึกษาวิจัยมีการค้นพบวิธีกำจัดขยะแบบง่ายๆ ด้วยวิธีธรรมชาติช่วยธรรมชาติ นั่นคือ การทำปุ๋ยหมักด้วยกล่องคอนกรีต เริ่มด้วยการหาพื้นที่ที่เหมาะสม ไม่อยู่ในบริเวณที่มีผู้คนจากนั้น กล่องคอนกรีต ขนาดกว้าง 2.00 เมตร ยาว 3.00 เมตร สูง 1.50 เมตร สามารถหมักปุ๋ยจากขยะได้สูงสุด เท่ากับ 6 ลูกบาศก์เมตร หรือ 2,000 กิโลกรัม (2 ตัน) หรือต่อประชาชนจำนวน 600 คนขึ้นไป ที่พื้นกล่องให้เทปูนลาดเอียงในอัตราส่วน 1 : 1,000 เพื่อระบายน้ำชะขยะสู่รางรับน้ำ การหมักขยะเริ่มจากการใช้ทรายละเอียดหนา 20 ซม. เพื่อเป็นตัวกรองน้ำเสีย จากนั้นใส่ขยะ 20 เข่ง หรือ 660 กิโลกรัม จากนั้นเกลี่ยให้ทั่ว แล้วใช้คนขึ้นเหยียบ จุลินทรีย์โดยเฉพาะแบคทีเรียจะทำหน้าที่กัดกินและย่อยสลายโดยอาศัยออกซิเจนเป็นตัวเพิ่มพลังแล้วปลดปล่อยอิเล็คตรอนและความร้อนออกมา ซึ่งจะต้องมีดินมาช่วยย่อย จากนั้นเอาดินแดงหรือดินนามากลบทับหนาสัก 3-5ซม. พวกธาตุเหล็กหรือไนเตรตในดินจะออกมารับอิเล็คตรอนที่เกิดจากการย่อยสลายทำให้การย่อยสลายสมบูรณ์ ซึ่งการกลบทับนี้จะไม่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นแต่ไม่ว่าจะอย่างไรควรใช้ดินกลบหลังจากทำเสร็จแล้วภายใน 3 วันจะทำให้ไม่มีกลิ่น
                การศึกษายังพบว่าการฝังกลบอย่างเดียวไม่พอ แต่จะต้องมีการกลบซ้อนหลายๆ ชั้น และมีการรดน้ำประมาณ 60 ลิตร ทุกๆ 7 วัน เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและลดปริมาณความร้อนในการย่อยสลายจะทำให้จุลินทรีย์ทำหน้าที่ได้ดีขึ้น ซึ่งการแยกขยะจะทำให้การย่อยสลายหมดไปใน 30 วันเท่านั้น แต่ถ้าไม่แยกจะใช้เวลา 90 วัน และถ้าฝังดินจะใช้เวลาย่อย 22 วัน คุณภาพของขยะที่ผ่านการย่อยสลายด้วยวิธีนี้จะมีค่า N : P : K = 20 : 1 :1 ซึ่งเทศบาลพลับพลานารายณ์ได้นำวิธีการนี้ไปใช้ทำให้สามารถนำปุ๋ยที่ได้ไปขายเพื่อให้ประชาชนมีรายได้
                นอกจากนี้ในครัวเรือนต่างๆ ก็สามารถทำเองได้ง่ายๆ ด้วยการนำบ่อคอนกรีตหรือบ่อส้วมมาซ้อนกัน 2 บ่อ แล้วนำขยะมาซ้อนกันเป็นชั้นๆ หนาประมาณ 1 คืบแล้วเอาดินแดงหรือดินนามากลบทุก 3 วัน หนาประมาณ 2.5 ซม. รดน้ำเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับขยะ น้ำที่ได้นั้นสามารถนำไปผสมน้ำเป็นปุ๋ยหมักเพื่อรดต้นไม้เป็นการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้มากมาย
 
น้ำเสียบำบัดได้
               นอกจากนี้การนำน้ำเสียมาบำบัดด้วยระบบบ่อบำบัดน้ำเสียสามารถใช้ธรรมชาติเป็นตัวช่วยได้เช่นกัน โดยใช้เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียที่เรียบง่าย แบ่งออกเป็น 4 ระบบ ระบบแรกคือ ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Lagoon Treatment ระบบนี้ใช้วิธีการพึ่งพาธรรมชาติ ให้สาหร่ายสังเคราะห์แสงเพื่อเติมออกซิเจนให้จุลินทรีย์หายใจและย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ซึ่งบ่อบำบัดมีทั้งหมด 5 บ่อ ประกอบไปด้วย บ่อตกตะกอน 1 บ่อ บ่อผึ่ง 3 บ่อ และบ่อปรับสภาพ 1 บ่อ
                ระบบที่ 2 คือ ระบบพืชและหญ้ากรองน้ำเสีย หรือ Plant and Grass Filtration ซึ่งแปลงหรือบ่อจะเก็บกักน้ำเสีย และปลูกธูปฤาษี กกกลม และหญ้าแฝกอินโดนีเซีย หรือปลูกหญ้าอาหารสัตว์ พืชเหล่านี้มีคุณสมบัติกรองและดูดซับของเสียที่อยู่ในน้ำ
                ระบบที่ 3 มีชื่อว่า ระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม หรือ Constructed Wetland ระบบบำบัดแบบนี้เป็นการจำลองพื้นที่ทางธรรมชาติ หรือพื้นที่ที่มีน้ำขัง การบำบัดน้ำเสียแบบนี้ใช้วิธีการปล่อยน้ำเสียผ่านบ่อดินตื้นๆ ที่ภายในปลูกพืชประเภทกก รากของพืชเหล่านี้จะช่วยดูดซับสารพิษและอินทรีย์สารให้ลดน้อยลง และย่อยสลายให้หมดไปในที่สุด
             ระบบสุดท้ายคือ ระบบแปลงพืชป่าชายเลน หรือ Mangrove Forest Filtration ระบบนี้ใช้หลักการบำบัดจากการเจือจางระหว่างน้ำทะเลกับน้ำเสีย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชุมชนหรือกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งที่มีพื้นที่ติดกับป่าชายเลนได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการสร้างแปลงพืชป่าชายเลน   
 
ทฤษฎีการแกล้งดิน
         ในเอกสารพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ดังมีใจความความเกี่ยวกับเรื่องดินตอนหนึ่งว่า “ดินที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรกรรมต้องมีคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
มีแร่ธาตุที่เรียกว่า ปุ๋ย และแร่ธาตุอื่นๆ มีระดับ เปรี้ยว ด่าง ใกล้เป็นกลาง (pH 7) มีความ เค็ม ต่ำ มีจุลินทรีย์ มีความชื้นพอเหมาะ ไม่แห้ง ไม่แฉะ มีความโปร่งพอเหมาะ ไม่แข็ง”
จากข้อความข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษาลักษณะต่างๆ ที่เกี่ยวกับดินไว้อย่างลึกซึ้ง ลักษณะของดินที่ไม่ตรงตามข้อความข้างต้น ถือว่าเป็นดินที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก            ทำให้ประชาชนที่เลี้ยงชีพด้วยการเกษตรได้รับความเดือดร้อน ไม่สามารถทำการเพาะปลูกบนพื้นดินเหล่านี้ได้ ซึ่งดินประเภทนี้ก็คือดินที่แปรสภาพไปจากเดิม เช่นอาจมีสภาพเป็นกรดจัด เค็มจัด อัดตัวแน่น ขาดความโปร่งพรุน มีแร่ธาตุไม่สมดุล และลักษณะของดินที่สร้างปัญหาให้แก่เกษตรกรอย่างมากก็คือ ดินเปรี้ยว ดินพรุ ดินเค็ม และดินจืด
 
           ดินเปรี้ยว หมายถึงดินที่มีสภาพความเป็นกรดสูง ค่าความเป็นกรดด่าง หรือค่า pH จะไล่ตั้งแต่ 1 ไปจนถึง 14 ค่าที่เป็นกลางคือ 7 ถ้าค่า pH ต่ำกว่า 7 ถือว่าดินมีสภาพเป็นกรด และถ้าค่า pH ต่ำกว่า 4 แปลว่าดินมีสภาพเป็นกรดจัด หรือเปรี้ยวจัด โครงการศึกษาทดลองการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวอันเนื่องมาจากพระราชดำริแนวทฤษฎีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว จังหวัดนครนายกจึงเกิดขึ้นโดยใช้แนวทฤษฎีแกล้งดิน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เริ่มจากการแกล้งให้ดินเปรี้ยว ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน เป็นการแกล้งดินให้เปรี้ยวจนถึงสุดขีด จากนั้นจึงใช้วิธีการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริต่อไป ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวเริ่มต้นครั้งแรกที่ศูนย์พิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส            ดินพรุ คือดินในพื้นที่พรุที่แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินในพื้นที่พรุซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของภาคใต้แปลว่าพื้นที่ที่มีน้ำขัง มีลักษณะเป็นอินทรียวัตถุ หรือซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยทับถมอยู่ข้างบน เมื่อต้องการใช้ประโยชน์จากพื้นที่พรุ จึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกจากพื้นที่จนหมด และเมื่อดินแห้งสารประกอบไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินมีความเป็นกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด
           ดินเค็ม มีส่วนผสมของเกลือหรือมีเกลือปะปนอยู่ ซึ่งดินเค็มก็คือดินที่มีปริมาณเกลือละลายอยู่ในดินมากเกินไปทำให้ดินขาดน้ำ ซึ่งเป็นอันตรายต่อพืช ทั้งยังทำให้ธาตุอาหารของพืชไม่มีความสมดุล โครงการศึกษาทดลองแก้ไขปัญหาดินเค็มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครราชสีมา ได้แก้ไขปัญหาดินเค็มโดยเน้นการเพาะปลูกพืชที่มีความเหมาะสมกับลักษณะของดิน ปรับปรุงดิน และปลูกพืชผักต่างๆ ควบคู่ไปด้วย
          ดินจืด นั้นคือดินที่มีแร่ธาตุสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ทำให้การเพาะปลูกไม่เจริญงอกงาม ต้องใส่ปุ๋ยหรือสารอาหารบำรุงดิน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานพระราชดำริแก่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าไปศึกษาทดลองเพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่างๆ บนที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา เพราะดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อการเพาะปลูก และประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นแหล่งอาหารที่ใช้เลี้ยงพืช สัตว์ และเพื่อประชาชน
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกำจัดขยะ การบำบัดน้ำเสีย หรือการแก้ปัญหาเรื่องดิน ทุกคนสามารถเข้าไปศึกษาหาความรู้แล้วนำไปปฏิบัติได้จริง ตามวัตถุประสงค์การเผยแพร่ เทคโนโลยีโครงการ นอกจากนี้ภายในบริเวณโครงการฯ ยังมีพันธุ์นกต่างๆ ให้ชมด้วยความเพลิดเพลิน เช่น นกเหยี่ยวแดง นกเหยี่ยวดำ นกกาน้ำ นกนางนวล นกเป็ดน้ำ นกกระแตแต้แว้ด นกยางกรอก นกเค้าดิน นกปากห่าง นกตีนเทียน นกกระเต็น นกยางเปีย ฝูงนกกระยาง ฯลฯ และยังมีพันธุ์ปลาต่างๆ ให้ศึกษา เช่น ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ ปลาตีน ปูแสม ปูก้ามดาบ ปูเปรี้ยว กุ้งดีดขัน ฯลฯ
                โครงการแหลมผักเบี้ยนี้นับว่าเป็นแบบอย่างแก่ชุมชนทั่วประเทศได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะเป็นแบบที่เรียบง่าย แล้วยังเข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้ปฏิบัติตามได้ง่าย มีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง และใช้เทคโนโลยีที่ไม่สูงนัก ซึ่งความเรียบง่ายนี้เองที่จะนำชุมชนไปสู่ความยั่งยืนได้ในที่สุด
 
 
 
 
 
วารสารหยดน้ำ
ฉบับเดือนกันยายน - ตุลาคม 2552
     

 




วารสารหยดน้ำ

บุคคลสำคัญ article
ตลาดน้ำคลองลัดมะยม article
มองด้านบวก
ก๋วยเตี๋ยวแคระ “เจ๊โหนก”
การสืบสวนสอบสวนของตำรวจไทย (มะเขือเทศ)
ซื่อสัตย์ จริงใจ รับใช้ชาวประชา
‘เพลินวาน’ย้อนเวลา หาความสุข
คลายร้อนด้วยอาหาร
จากใจกวี..
ออกกำลังกายสบายๆ สไตล์...เบาหวาน
เจ้าสัวทันควัน บำรุงขวัญตำรวจเพื่อประชาชน
ความสุขง่ายๆ หาได้รอบกาย
“มหกรรมหุ่นโคมไฟสวนสยาม”
อิ่มอร่อยสุดๆ ที่ ‘แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา’
เรื่องรับผิดในฐานะส่วนตัว
ทิวลิปนนท์...มนต์เสน่ห์เชื้อชาติฮอลแลนด์ สัญชาติไทย
เสกผิวให้สวยด้วย "เลเซอร์"
มองแง่บวก
10 ที่ท่องเที่ยวในฤดูหนาว
รู้ปัญหา ตั้งใจทำงานเพื่อส่วนรวม
จริงใจทำงาน พัฒนาท้องถิ่น
การวางแผนภาษีมรดก
แนะ 7 สัญญาณที่ผู้ขับขี่ควรรู้ article
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
12 ปี แห่งการใกล้ชิดประชาชน
‘กาหลง’
บันทึกธรรมจาก หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
โรคหัวใจ
ประหยัดภาษี ในธุรกิจแมนชั่นและอพาร์ทเมนต์ได้อย่างไร
ปัญหาประชาชนต้องได้รับการแก้ไข
นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)
กำแพงสีเขียว
การวางแผนภาษี กิจการค้าขายอสังหาริมทรัพย์
มารู้จัก ศูนย์ กศน.เขตจอมทอง กันดีกว่า...
บริการประชาชนคือเป้าหมายการทำงาน
เลิกรบสงบศึก
มารู้จัก ศูนย์ กศน.เขตจอมทอง กันดีกว่า
หยดน้ำใจ สู่แดนใต้
ยาอมตราตะขาบ 5 ตัว ตำนานยาสมุนไพร 2 สัญชาติ
อิ่มบุญ อิ่มใจ สงกรานต์ไทย-รามัญที่วัดบางกระดี่
ภาษีที่ดิน-มรดกไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
ความสุขคือ การเป็นผู้ให้
ว่าว สีสันแห่งคิมหันตฤดู
ข้าวแกงบ้านสวน จุดนัดยามเดินทาง
ล่องเรือชมเกาะ ดูลิงแสม ตลาดน้ำวัดหัวกระบือ
รักประชาชน รักษ์สิ่งแวดล้อม
พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์
ตรุษจีน เทศกาลแห่งความมีโชค
นายตำรวจเปี่ยมคุณธรรม
ทำทุกอย่างเพื่อความสุขของประชาชน article