การวางแผนภาษีมรดก
ReadyPlanet.com
dot


  [Help]
dot
Greenway Station
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
Greenway Member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


การวางแผนภาษีมรดก
การวางแผนภาษีมรดก
 
            กฎหมายภาษีของบ้านเรานั้น ได้ส่งเสริมให้มีการโอนทรัพย์สินจากพ่อแม่ไปสู่ลูกๆ ซึ่งโดยปกติจะไม่มีภาระภาษีใดๆทั้งสิ้น    การที่รัฐส่งเสริมเช่นนี้ เพราะเห็นว่าเป็นการให้กับลูกๆ ซึ่งพ่อแม่มีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูลูกๆ ตามกฎหมายแพ่งอยู่แล้ว และในความเป็นจริงก็เป็นการดีสำหรับลูกๆ เมื่อพ่อแม่ถึงแก่ชีวิตแล้ว   ก็จะไม่มีมรดกให้ลูกๆ ทะเลาะกันในการแบ่งมรดกด้วย เพราะพ่อแม่ได้จัดการแบ่งให้เรียบร้อยแล้วก่อนที่จะเสียชีวิต ก็โชคดีสำหรับลูกๆ ไป
 
            ฉะนั้นฉบับนี้ผู้เขียนจึงนำเรื่องราวเกี่ยวกับภาระภาษีระหว่างผู้โอน(พ่อ แม่) กับผู้รับโอน (ลูกๆ) ซึ่งสามารถแยกภาษีของแต่ละฝ่ายได้ดังนี้ 
 
1.ฝ่าย ผู้โอน (พ่อ –แม่)
- กรณีโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ลูกๆ    ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้    และภาษีธุรกิจเฉพาะ
- กรณีโอนสังหาริมทรัพย์ ให้แก่ลูกๆ     ไม่มีภาษีเงินได้เพราะไม่ถือเป็นการขายตามกฎหมาย
- กรณีโอนเงินสดให้แก่ลูกๆ    ไม่มีภาระภาษีเงินได้ และไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะไม่ใช่ธุรกรรมทางธุรกิจ
 
2. ฝ่ายผู้รับโอน (ลูกๆ)
- กรณีรับโอนอสังหาริมทรัพย์ ลูกๆ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ แต่ว่าเมื่อใดที่ลูกๆ ขายอสังหาริมทรัพย์ออกไป จะต้องเสียภาษีเงินได้จากการขาย และเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
- กรณีรับโอนสังหาริมทรัพย์ ลูกๆได้รับยกเว้นภาษี กล่าวคือไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
- กรณีรับโอนเงินสด ลูกๆ ได้รับยกเว้นภาษี กล่าวคือไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
 
            แต่อย่างไรก็ดี สำหรับลูกๆที่พ่อแม่ในขณะมีชีวิตอยู่ไม่ได้แบ่งทรัพย์สินกันให้เรียบร้อย เมื่อพ่อ – แม่ เสียชีวิตลง ที่ดินจึงตกเป็นมรดกแก่ลูก ๆ    หากลูก ๆ ไม่ต้องการแบ่งแยกที่ดินกัน     อาจจะเป็นเพราะที่ดินมีขนาดแปลงเล็กจนไม่สามารถแบ่งกันได้ หรือด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม   ลูกๆ ต้องการขายที่ดินเพื่อนำเงินมาแบ่งปันกันแทน แต่ปรากฏว่าการขายที่ดินที่เป็นมรดกนั้นลูกๆ ที่ขายที่ดินถือว่าเป็นผู้มีเงินได้   จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งกรณีดังกล่าวก็มีวิธีประหยัดภาษีได้เช่นกัน
 
            การจดทะเบียนการขายกรรมสิทธ์ที่ดินนั้น ทุกคนทราบดีว่าต้องไปดำเนินการกันที่สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่ในเขตนั้นๆ ซึ่งการจดทะเบียนโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เป็นมรดกนั้นสามารถทำได้ 2 วิธี คือ 
                1. ผู้จัดการมรดกโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินในนามผู้จัดการมรดกให้แก่ผู้ซื้อได้โดยตรง
            2. ผู้จัดการมรดกโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับทายาททั้งหลายที่มีสิทธิรับมรดกก่อน แล้วทายาททั้งหลายจึงโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับผู้ซื้ออีกทอดหนึ่ง ซึ่งสามารถทำนิติกรรมในวันเดียวกันได้ ไม่ต้องห่วงครับเจ้าหน้าที่ที่ดินเขาเก่ง!!!!!
            บางคนอาจจะมองว่า ทั้งสองกรณีน่าจะไม่มีอะไรที่แตกต่างกัน ความจริงแล้วทั้งสองกรณีนั้นมีภาระภาษีที่แตกต่างกันมากนะครับ    กล่าวคือ
            ถ้าผู้รับมรดกมีคนเดียวก็ให้ใช้วิธีที่ 1. จะได้ไม่ต้องเสียค่าจดทะเบียนรับโอนมรดกของทายาท คงเสียแต่ภาษีเงินได้จากการขายที่ดินและค่าอากรแสตมป์ของกองมรดกเท่านั้น แต่ถ้าทายาทที่มีสิทธิรับมรดกมีหลายคนขอแนะนำให้ใช้วิธีที่ 2. เพราะสามารถประหยัดภาษีเงินได้ของทายาทได้มากเลยนะครับ    เพราะการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น จะคิดคำนวณจากราคาประเมินของที่ดินหักด้วยค่าใช้จ่ายในอัตราร้อยละห้าสิบของราคาประเมินแล้วนำเงินที่เหลือมาหารด้วยจำนวนของทายาทที่ได้รับแต่ละคน จากนั้นจึงจะนำเงินได้ของทายาทแต่ละคนมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้าของแต่ละคนจึงจะเป็นอัตราภาษีที่ต้องเสีย ซึ่งแม้ว่าการรับมรดกของทายาทนั้นจะต้องเสียค่าจดทะเบียนการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในอัตราร้อยละ 0.5 ของราคาประเมินก็ตาม แต่ก็น้อยกว่าการเสียภาษีเงินได้ของกองมรดก ซึ่งจะต้องเสียในอัตราก้าวหน้าสูงสุดถึงร้อยละ 20 ของราคาประเมินที่ดิน
            ซึ่งผู้เขียนเคยใช้วิธีที่ 2 .มาแล้ว กรณีของกองมรดกขายที่ดินมรดกจำนวน 74 ล้านบาท โดยมีทายาทจำนวน 15 คน หากใช้วิธีที่ 1 จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่สำนักงานที่ดินเป็นเงินประมาณ 5.6 ล้านบาท แต่หากใช้วิธีที่ 2 จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่สำนักงานที่ดิน ประมาณ 2 ล้านบาทเศษ จะเห็นได้ว่าสามารถประหยัดภาษีไปได้ประมาณ 3.6 ล้านบาท รถยนต์งาม ๆ คันหนึ่งเลยนะครับท่านผู้อ่าน
 
            การวางแผนภาษีไม่ใช่การเลี่ยงภาษีนะครับ แต่เป็นวิธีการเสียภาษีอย่างประหยัด และถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
 
 
 
 
 
 
 
 
วารสารหยดน้ำ
ฉบับเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2552

 

 




วารสารหยดน้ำ

บุคคลสำคัญ article
ตลาดน้ำคลองลัดมะยม article
มองด้านบวก
ก๋วยเตี๋ยวแคระ “เจ๊โหนก”
การสืบสวนสอบสวนของตำรวจไทย (มะเขือเทศ)
ซื่อสัตย์ จริงใจ รับใช้ชาวประชา
‘เพลินวาน’ย้อนเวลา หาความสุข
คลายร้อนด้วยอาหาร
จากใจกวี..
ออกกำลังกายสบายๆ สไตล์...เบาหวาน
เจ้าสัวทันควัน บำรุงขวัญตำรวจเพื่อประชาชน
ความสุขง่ายๆ หาได้รอบกาย
“มหกรรมหุ่นโคมไฟสวนสยาม”
อิ่มอร่อยสุดๆ ที่ ‘แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา’
เรื่องรับผิดในฐานะส่วนตัว
ทิวลิปนนท์...มนต์เสน่ห์เชื้อชาติฮอลแลนด์ สัญชาติไทย
เสกผิวให้สวยด้วย "เลเซอร์"
มองแง่บวก
10 ที่ท่องเที่ยวในฤดูหนาว
รู้ปัญหา ตั้งใจทำงานเพื่อส่วนรวม
จริงใจทำงาน พัฒนาท้องถิ่น
แนะ 7 สัญญาณที่ผู้ขับขี่ควรรู้ article
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
12 ปี แห่งการใกล้ชิดประชาชน
‘กาหลง’
บันทึกธรรมจาก หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
โรคหัวใจ
ประหยัดภาษี ในธุรกิจแมนชั่นและอพาร์ทเมนต์ได้อย่างไร
ปัญหาประชาชนต้องได้รับการแก้ไข
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย
นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)
กำแพงสีเขียว
การวางแผนภาษี กิจการค้าขายอสังหาริมทรัพย์
มารู้จัก ศูนย์ กศน.เขตจอมทอง กันดีกว่า...
บริการประชาชนคือเป้าหมายการทำงาน
เลิกรบสงบศึก
มารู้จัก ศูนย์ กศน.เขตจอมทอง กันดีกว่า
หยดน้ำใจ สู่แดนใต้
ยาอมตราตะขาบ 5 ตัว ตำนานยาสมุนไพร 2 สัญชาติ
อิ่มบุญ อิ่มใจ สงกรานต์ไทย-รามัญที่วัดบางกระดี่
ภาษีที่ดิน-มรดกไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
ความสุขคือ การเป็นผู้ให้
ว่าว สีสันแห่งคิมหันตฤดู
ข้าวแกงบ้านสวน จุดนัดยามเดินทาง
ล่องเรือชมเกาะ ดูลิงแสม ตลาดน้ำวัดหัวกระบือ
รักประชาชน รักษ์สิ่งแวดล้อม
พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์
ตรุษจีน เทศกาลแห่งความมีโชค
นายตำรวจเปี่ยมคุณธรรม
ทำทุกอย่างเพื่อความสุขของประชาชน article