ว่าว สีสันแห่งคิมหันตฤดู
ReadyPlanet.com
dot


  [Help]
dot
Greenway Station
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
Greenway Member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


ว่าว สีสันแห่งคิมหันตฤดู

 

‘ว่าว’ สีสันแห่งคิมหันตฤดู

   แม้แสงแดดร้อนระอุสักปานใด แต่สีสันของว่าวไทยยังคงเป็นสิ่งที่คู่ควรกับคนไทยมาโดยตลอด นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา “ว่าว” เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ทำขึ้นมา เป็นการละเล่นที่สร้างความเพลิดเพลินมาเป็นเวลานับพันปีแล้ว แต่ก็ไม่ทราบกำเนิดที่แน่ชัดว่าว่าวเกิดขึ้นที่ชาติใดก่อนเป็นครั้งแรก เพราะว่าวเป็นการละเล่นที่สามารถเล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เล่นกันเกือบทุกชาติทุกภาษา แต่ชาติที่นิยมเล่นว่าวกันมากเห็นจะเป็นชนชาติในทวีปเอเชียของเรานี้เอง

   เหตุผลหนึ่งคือลักษณะอากาศเอื้ออำนวยอย่างยิ่งต่อการเล่นว่าว โดยเฉพาะระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมตะเภา) พัดมาจากอ่าวไทยทำให้เราได้เห็นสีสันของว่าวล้อลมเกลื่อนท้องฟ้า ณ เวลานี้


ว่าวไทย อมตะกว่า 700 ปี

    สมัยรัตนโกสินทร์ การเล่นว่าวยังเป็นที่นิยมกันอยู่มาก โดยในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ.2394-2111) พระองค์ ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้ประชาชนเล่นว่าวได้ที่ท้องสนามหลวง ซึ่งแต่เดิมนั้นผู้ที่เล่นว่าวใกล้พระบรมมหาราชวังมีโทษถึงการตัดมือ เนื่องจากอาจลอยไปทำลายยอดและเครื่องประดับของตัวปราสาทได้ ต่อมาในรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2449 ได้มีการจัดการแข่งขัน ว่าวจุฬา-ปักเป้า ชิงถ้วยทองคำพระราชทาน ที่พระราชวังดุสิต การแข่งขันนี้มีเป็นประจำทุกปี จนสิ้นรัชสมัยของพระองค์ ต่อมาใน ช่วงปีสุดท้ายในรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453-2468) พระองค์ได้ทรง ฟื้นฟูกีฬาว่าวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

    หลังจากนั้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้จัดการแข่งขันกีฬาว่าว ระหว่างจุฬา-ปักเป้าประจำปีขึ้นมาอีก แต่ก็มีอันต้องว่างเว้นไปอีก เนื่องจากว่า รัฐบาลไม่ส่งเสริม และว่าวเป็นสิ่งที่สร้างปัญหากับระบบการจ่ายไฟฟ้า เพราะมีว่าวไปติดสายไฟ และเคยมีคนถูกไฟดูดตายก็มีมาก จึงทำให้การเล่นว่าวเสื่อมความนิยมลงไป และคนมีที่มีภูมิปัญญาด้านนี้เริ่มร่อยหรอลง เด็กรุ่นใหม่ที่เล่นและทำว่าวเองเริ่มที่จะไม่มีให้พบเห็น

    สำหรับประเทศไทยต้องเรียกว่าว่าวเป็นสิ่งที่คนไทยคุ้นเคยและรู้จักกันมาแต่โบราณ โดยจะมีการประดิษฐ์เพื่อส่งว่าวรูปแบบต่างๆ ขึ้นไปอวดโฉมประชันความงาม และยังมีการแข่งขันโฉบเฉี่ยว ปาดกันด้วยสายป่านที่เตรียมกันมาอย่างดี ประกอบกับฝีมือในการสาวและผ่อนสายป่านเพื่อช่วงชิงความเป็นหนึ่งบนท้องฟ้าอีกด้วย จึงถือว่าว่าวไทยเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปวัฒนธรรมและการกีฬาได้อย่างกลมกลืนโดยซึ่งไม่มีที่ใดในโลกสามารถทำได้


ลมว่าว ฤดูกาลแห่งสีสัน

    ปัจจุบันการเล่นว่าวในภูมิภาคต่างๆ ของไทย นิยมเล่นกันทั้งในหน้าหนาวและหน้าร้อน โดยต้องอาศัยกระแสลม เป็นปัจจัยสำคัญ

  ส่วนวิธีการเล่นว่าวนั้น คนไทยนิยมเล่นอยู่ 3 วิธี คือ การชักว่าวให้ลอยลมปักอยู่กับที่ เพื่อดูความสวยงามของว่าวรูปต่างๆ การชักว่าวแบบบังคับสาย ให้เคลื่อนไหวได้ตามต้องการ เพื่อแสดงความงดงาม ความสูง หรือความไพเราะของเสียงว่าว และวิธีสุดท้ายที่แตกต่างจากชาติอื่น คือการชักว่าวแบบต่อสู้กันบนอากาศ เช่น ว่าวจุฬา–ปักเป้า ซึ่งเป็นที่คุ้นตาของคนรักการเล่นว่าวและถือเป็นศิลปะแห่งว่าวไทยมาช้านาน

เคล็ดลับไม้ไผ่และกระดาษสา

   ว่าวแม้จะทำจากไม้ไผ่และกระดาษว่าว ซึ่งใช้อุปกรณ์ไม่มากเพียงไม่กี่ชิ้น แต่ต้องอาศัยศิลปะและความชำนาญอย่างมาก โดยเฉพาะการทำว่าวจุฬา และว่าวปักเป้า ไม้ไผ่ที่ใช้ทำว่าวมักใช้ไม้ไผ่สีสุกทำ ต้องมีเคล็ดลับการเลือกแตกต่างกันไปตามแต่ละสำนัก บางแห่งจะมีการดูอายุของไม้ไผ่ด้วยว่าไม่ให้อ่อนหรือไม่ให้แก่เกินไปจะมีผลต่อความยืดหยุ่นของเนื้อไม้

    หลังจากได้ไม่ไผ่มาแล้วต้องนำมาเหลาให้ได้ขนาดและความยาวที่เหมาะสม และยังต้องทดสอบความยืดหยุ่นของไม้ไผ่เมื่อนำมาดัดงอด้วยว่าสามารถดัดงอได้ดีหรือไม่ ขนาดและความยาวของไม้ไผ่ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของว่าวที่จะทำ ถ้าเป็นว่าวจุฬาขนาดมาตรฐานใช้แข่งขัน ก็จะมีตัวใหญ่มาก ต้องทำอย่างแข็งแรงและได้ขนาดที่เหมาะสม เป็นว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคกลาง มีลักษณะเป็น 5 แฉก ประกอบเป็นโครงขึ้นด้วยไม้ 5 อัน ไม้อันกลางเรียกว่า “อก” เหลาหัวท้ายให้ปลายเรียว ไม้อีก 2 อันผูกขนาบตัวปลายให้จรดกันเป็นปีก และไม้อีก 2 อัน เป็นขาว่าวเรียกว่า “ขากบ” ส่วนใหญ่นิยมใช้ไม้ไผ่สีสุก อายุประมาณ 3-4 ปี  เพราะเนื้อไม้จะมีน้ำหนักเบา เหนียว ยืดหยุ่นสูง ไม่หักง่าย และมีเคล็ดว่าไม่ควรใช้ไม้ที่มีตำหนิ หรือเป็นรอยด่าง เพราะเนื้อไม้จะไม่เสมอกัน เป็นสาเหตุทำให้ว่าวเลี้ยงตัวไม่ดี

    จากนั้นนำโครงว่าวมาขึงด้าย เป็นตารางตลอดตัวว่าว เรียกว่า “ผูกสัก” แล้วใช้กระดาษปิดทับลงบนโครง วิธีการทำข้างต้นอาจดูทำได้ง่ายๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การทำว่าวนับเป็นภูมิปัญญาที่ผู้ทำจะต้องมีความอดทน มีสมาธิ  และเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดอย่างยิ่ง เพราะหากทำไม่ถูกสัดส่วนแล้ว ว่าวอาจจะไม่สามารถลอยตัวขึ้นได้เลย หรืออาจจะลอยตัวขึ้นได้แต่เอียงซ้าย/ขวา หมุนควง และดิ่งลงมาสู่พื้นในที่สุด ดังนั้นช่างแต่ละคนจึงมีเคล็ดลับในการทำว่าวแตกต่างกันไป
 

     ถ้าเป็นว่าวปักเป้าตัวจะเล็กลงมา เน้นความคล่องแคล่วปราดเปรียว ส่วนว่าวงู ว่าวนกฮูก เน้นความสวยงามของกระดาษที่ปิดมากกว่า เมื่อได้ไม้ไผ่มาตามขนาดที่ต้องการต่อไปก็ถึงขึ้นทำโครงว่าว โดยถ้าเป็นว่าวปักเป้าจะใช้ไม่ไผ่ 2 ชิ้นขัดกันขึ้นมาเป็นโครง ยึดกันด้วยด้าย ซึ่งขึ้นตอนนี้ก็สำคัญเนื่องจากการผูกด้ายยึดโครงต้องมีความพอดีไม่ให้ตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไป ไม่งั้นว่าวจะเสียศูนย์ได้เวลาเล่น

    เมื่อได้โครงว่าวแล้ว ก็ถึงขึ้นตอนการปิดกระดาษ กระดาษที่ใช้ทำว่าว จะเป็นกระดาษว่าว หรือบางคนใช้กระดาษสาอาจจะเป็นของประเทศไทยหรือจีนก็ได้ บางรายมีเทคนิคคือปิดกระดาษตอนเช้าๆ ตอนสายๆอากาศอุ่นขึ้นกระดาษก็จะตึงพอดี หลังจากปิดกระดาษเสร็จแล้วก็มาเจาะรูผูกคอซุง โดยต้องดูความสมดุลของว่าว ว่าไม่เอียงซ้ายหรือขวา หัวหรือท้ายไม่หนักเกินไป อาจจะลองชักเล่นดูเลยก็ได้ หลังจากนั้นก็ตกแต่งภายนอก ส่วนว่าววงเดือน หรือ ว่าวบุหลัน และอาจเรียกเป็นภาษามลายูว่า “วาบูแล” ซึ่งแปลว่า “ว่าวเดือน” นิยมเล่นในภาคใต้ตอนล่าง

 

                                  

ศาสตร์และศิลป์แห่งว่าว

    ในปัจจุบันว่าวที่นิยมนำมาแข่งขันกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก็เห็นจะเป็นว่าวจุฬากับว่าวปักเป้า ซึ่งเป็นว่าวที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน และเปรียบเหมือนคู่ปรับกันด้วย โดยโครงสร้างของว่าวจุฬาจะมีขนาดใหญ่ มีกำลังมาก หากเปรียบเทียบแล้ว ว่าวจุฬาจะมีขนาดใหญ่กว่าว่าวปักเป้าเป็น 2 เท่า

   การแข่งขันเริ่มจาก ผู้เล่นทั้งสองฝ่าย อยู่ในบริเวณของตน โดยจะให้ว่าวของตัวเองโฉบเข้าหาอีกฝ่ายหนึ่ง ว่าวปักเป้าจะมีเหนียงที่เป็นเชือกป่านคล้องตัวว่าวจุฬาให้เสียการทรงตัวซึ่งว่าวปักเป้าที่อยู่ในแดนของตนก็จะร่อนไปมาเพื่อหาโอกาสโฉบว่าวจุฬามาโดยการใช้เหนียง ส่วนว่าวจุฬาจะ ติดดอก จำปาไว้ ซึ่งดอกจำปานี้จะทำให้ว่าวปักเป้ามาติดว่าวจุฬา ในขณะการเล่นผู้ชักว่าวทั้งสองฝ่ายห้ามล้ำแดนกัน กฎการได้ชัยชนะคือหากว่าวจุฬาสามารถลากพาว่าวปักเป้าเข้าทีละตัวหรือหลายตัวก็ได้ ถ้านำคู่ต่อสู้มาในแดนของตนได้สำเร็จก็เป็นฝ่ายชนะ หรือ ว่าวปักเป้าลากพาว่าวจุฬามาแดนของตนได้ก็เป็นฝ่ายชนะได้เช่นกัน แต่ถ้าหากว่าขณะที่ชักมาว่าวปักเป้าขาดลอยไปเสียก็ไม่มีฝ่ายใดได้คะแนน

 

 สนามหลวง ลานกีฬาคนรักว่าว

     “แต้” เจ้าหน้าที่วัดพระศรีอารย์ ผู้หลงรักการเล่นว่าวและคลุกคลีกับว่าวมานาน 5 ปี บอกว่า เป็นความภาคภูมิใจของคนเล่นว่าวที่ศูนย์การเรียนรู้พระศรีอารย์ เพราะเมื่อปีที่ผ่านมาพวกเขาคือทีมชนะเลิศจากการแข่งขันว่าวที่สนามหลวงในงานเทศกาลกีฬาไทย โดยได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งความภาคภูมิใจนั่นคือ ที่วัดพระศรีอารย์แห่งนี้มีว่าวจุฬาตัวใหญ่ที่สุดในโลกคือขนาด 9 ศอก ซึ่งเรื่องที่น่ายินดีนี้ต้องมอบให้กับผู้ริเริ่มนั่นคือพระครูวิทิตพัฒนโสภณ  แห่งวัดพระศรีอารย์ โพธาราม จังหวัดราชบุรี

   สำหรับในปีนี้ ที่สนามหลวงได้จัดงานเทศกาลกีฬาไทย 2552 ระหว่างวันที่ 14 มีนาคม-8 เมษายน 2552 ซึ่งเป็นเวทีสำหรับกีฬาไทยโดยเฉพาะ และนับว่าเป็นสนามแข่งขันว่าวที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และนอกจากที่สนามหลวงแล้วคนรักว่าวยังคงมีสนามแข่งขันอื่นๆ อีกเช่นในวันที่ 17 เมษายน นี้จะมีการแข่งขันว่าวที่ วัดปก อ.อัมพวา และยังมีที่วัดช่องลม อ.ปากท่อ หัวหิน และสตูล ซึ่งจะเป็นทั้งเวทีแข่งขันและมีว่าวดีๆ ให้ดูทุกปี
    นอกจากนี้ศูนย์การเรียนรู้พระศรีอารย์ ยังเป็นแหล่งป่านชั้นดีที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และที่นี่ยังมีสุดยอดฝีมือในการตีป่าน ถลุงเกลียว สำหรับคนรักว่าวแล้ว “ป่าน” นับเป็นส่วนสำคัญของการทำว่าวที่มีคุณภาพ หากมีการเก็บรักษาที่ดีจะสามารถเก็บว่าวไว้ได้นานถึง 50 ปี
  

“การเล่นว่าว” นอกจากจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด จากการเรียนของเด็กๆ และการทำงานของผู้ปกครอง ได้เสริมสร้างกำลังกายให้แข็งแรง หรือลับสมองด้วยกติกาการแข่งขันสนุกๆ แล้ว  ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว ทำให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีน้ำใจนักกีฬากับผู้เล่นคนอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้เด็กๆ ได้ใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ไม่หมกมุ่นอยู่ แต่กับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ หรือดูทีวี

     ที่สำคัญที่สุดความประทับใจอันเกิดจากการเล่นว่าว ยังอาจเป็นหนทางหนึ่ง ที่จะจุดประกายให้เด็กๆ เกิดความสนใจ และก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการอนุรักษ์ สืบสานภูมิปัญญาของช่างฝีมือพื้นบ้านไทยให้เป็นมรดกของชาติสืบไป

 

    วารสารหยดน้ำ
    มีนาคม-เมษายน 52

      

 

 

 

 




วารสารหยดน้ำ

บุคคลสำคัญ article
ตลาดน้ำคลองลัดมะยม article
มองด้านบวก
ก๋วยเตี๋ยวแคระ “เจ๊โหนก”
การสืบสวนสอบสวนของตำรวจไทย (มะเขือเทศ)
ซื่อสัตย์ จริงใจ รับใช้ชาวประชา
‘เพลินวาน’ย้อนเวลา หาความสุข
คลายร้อนด้วยอาหาร
จากใจกวี..
ออกกำลังกายสบายๆ สไตล์...เบาหวาน
เจ้าสัวทันควัน บำรุงขวัญตำรวจเพื่อประชาชน
ความสุขง่ายๆ หาได้รอบกาย
“มหกรรมหุ่นโคมไฟสวนสยาม”
อิ่มอร่อยสุดๆ ที่ ‘แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา’
เรื่องรับผิดในฐานะส่วนตัว
ทิวลิปนนท์...มนต์เสน่ห์เชื้อชาติฮอลแลนด์ สัญชาติไทย
เสกผิวให้สวยด้วย "เลเซอร์"
มองแง่บวก
10 ที่ท่องเที่ยวในฤดูหนาว
รู้ปัญหา ตั้งใจทำงานเพื่อส่วนรวม
จริงใจทำงาน พัฒนาท้องถิ่น
การวางแผนภาษีมรดก
แนะ 7 สัญญาณที่ผู้ขับขี่ควรรู้ article
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
12 ปี แห่งการใกล้ชิดประชาชน
‘กาหลง’
บันทึกธรรมจาก หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
โรคหัวใจ
ประหยัดภาษี ในธุรกิจแมนชั่นและอพาร์ทเมนต์ได้อย่างไร
ปัญหาประชาชนต้องได้รับการแก้ไข
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย
นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)
กำแพงสีเขียว
การวางแผนภาษี กิจการค้าขายอสังหาริมทรัพย์
มารู้จัก ศูนย์ กศน.เขตจอมทอง กันดีกว่า...
บริการประชาชนคือเป้าหมายการทำงาน
เลิกรบสงบศึก
มารู้จัก ศูนย์ กศน.เขตจอมทอง กันดีกว่า
หยดน้ำใจ สู่แดนใต้
ยาอมตราตะขาบ 5 ตัว ตำนานยาสมุนไพร 2 สัญชาติ
อิ่มบุญ อิ่มใจ สงกรานต์ไทย-รามัญที่วัดบางกระดี่
ภาษีที่ดิน-มรดกไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
ความสุขคือ การเป็นผู้ให้
ข้าวแกงบ้านสวน จุดนัดยามเดินทาง
ล่องเรือชมเกาะ ดูลิงแสม ตลาดน้ำวัดหัวกระบือ
รักประชาชน รักษ์สิ่งแวดล้อม
พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์
ตรุษจีน เทศกาลแห่งความมีโชค
นายตำรวจเปี่ยมคุณธรรม
ทำทุกอย่างเพื่อความสุขของประชาชน article