ประหยัดภาษี ในธุรกิจแมนชั่นและอพาร์ทเมนต์ได้อย่างไร
ReadyPlanet.com
dot


  [Help]
dot
Greenway Station
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
Greenway Member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


ประหยัดภาษี ในธุรกิจแมนชั่นและอพาร์ทเมนต์ได้อย่างไร
ประหยัดภาษี ในธุรกิจแมนชั่นและอพาร์ทเมนต์ได้อย่างไร
 
           ในยุดที่ประชากรของประเทศเพิ่มขึ้น แต่พื้นที่ของประเทศเท่าเดิม   ทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น    จึงเป็นเหตุให้   ที่ดิน   บ้าน   คอนโด มีราคาแพงขึ้น   เป็นเหตุให้คนทำงาน หรือที่เรียกว่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลายต้องพึ่งพาการเช่าที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่   เพราะสะดวกจะเข้าออกเมื่อไรก็ได้     จึงเกิดธุรกิจแมนชั่น และอพาร์ทเมนต์   ขึ้นมากมายในปัจจุบัน
         แต่คนที่ทำธุรกิจแมนชั่นและอพาร์ทเมนต์ก็ไม่ได้หมายความว่าจะประสบผลสำเร็จทุกคนเสมอไป อยู่ที่ว่าใครจะสามารถบริหารกิจการให้มีรายได้มากกว่ารายจ่าย และปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับรายได้ก็คือ ภาษี ซึ่งเป็นตัวสำคัญตัวหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจแมนชั่นและอพาร์ทเมนต์ มีรายได้มากกว่ารายจ่ายหรือไม่   จึงมีคำถามเสมอว่าธุรกิจแมนชั่น และอพาร์ทเมนต์นั้น มีการวางแผนภาษีอย่างไร จึงทำให้ประหยัดภาษี และเสียภาษีได้ถูกต้องตามกฎหมาย
ความจริงธุรกิจแมนชั่น และอพาร์ทเมนต์มีภาษีที่เกี่ยวข้อง   อยู่ 3 ตัวภาษี   คือ
              1.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน     2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม                3.ภาษีเงินได้นิติบุคคล
                         1.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึงภาษี ที่เรียกเก็บจากรายได้ค่าเช่าห้องในอัตราร้อยละ12.5 ของค่าเช่าห้อง   ซึ่งเป็นอัตราภาษีที่สูง
            ฉะนั้นเพื่อเป็นการประหยัดภาษีโรงเรือนและที่ดิน   จึงมีการวางแผนภาษีโดยการแยกสัญญาออกเป็น 2 สัญญา   คือ  
สัญญาเช่าห้อง 
สัญญาให้บริการเฟอร์นิเจอร์
          ถึงแม้ว่าการแยกสัญญาให้บริการออกจากค่าเช่า ทำให้รายได้ส่วนค่าบริการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7   ก็ตาม แต่เมื่อคำนวณแล้วจะทำให้ประหยัดภาษีโรงเรือนและที่ดินได้ถึงร้อยละ  5.5   ของอัตราภาษี
 
              ตัวอย่างกรณีที่ 1 ทำสัญญาเช่าห้องอย่างเดียว   ค่าเช่า ห้องละ   6,000   บาทต่อเดือน   มีทั้งหมดจำนวน    30     ห้อง
            ฉะนั้นหากนำคิดคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดินทั้งปี   จะได้    = 6,000 X 30 ห้อง X 12 เดือน X 12.5    %   = 270,000    บาท
 
 
              กรณีที่ 2      แยกสัญญาเช่า และสัญญาให้บริการโดยค่าเช่าห้องละ   3,000 บาทแส่วนค่าให้ค่าบริการห้องละ    3,000   บาท   มีทั้งหมดจำนวน 30 ห้อง 
              ฉะนั้นหากนำคิดคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดินต่อปี = 3,000 X   30    ห้องX 12 เดือนX 12.5 %                          = 135,000 บาท
 
              ส่วนสัญญาให้บริการหากนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการ =3,000 X30 ห้อง X 12 เดือน    X 7 %  = 75,600 บาท
              รวมภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องชำระเป็นเงิน 135,000+75,600      = 210,600 บาท
 
                  จะเห็นได้ว่าถ้าเลือกวิธีที่ 2   ทำให้ท่านสามารถประหยัดภาษีได้จำนวน 59,400 บาท    
   
                        2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม    หมายถึง ภาษีที่เรียกเก็บจาก      การให้บริการ ค่าเช่าเฟอร์นิเจอร์ ค่าบริการ ค่าน้ำ ค่าไฟ หากรวมรายได้เกินปีละ 1.8 ล้านบาท จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีข้อดีก็คือ   สามารถนำภาษีซื้อจากค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการมาหักออกจากภาษีขายที่เรียกเก็บจากผู้เช่าได้
                        3.ภาษีเงินได้นิติบุคคล   หมายถึง กรณีที่ทำกิจการในนามของนิติบุคคล ซึ่งในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของ บริษัทฯ  ต้องปรับปรุงรายการกำไร (ขาดทุน)   สุทธิทางบัญชีเพื่อให้เป็นกำไร(ขาดทุน) ทางภาษี ก่อน แล้วจึงคูณด้วยอัตราภาษีที่ต้องชำระ ซึ่งปกติ แล้วอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30%   ของกำไรสุทธิ
              แต่ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมารัฐบาลได้มีนโยบายเพื่อบรรเทาภาระภาษีให้กับธุรกิจขนาดเล็ก(กิจการขนาดเล็ก คือ ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท ที่เกิดขึ้นในรอบระยะ เวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2547 เป็นต้นไป)โดยให้เสียภาษีจากกำไรสุทธิ เป็นอัตราแบบขั้นบันไดคือ
                  กำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท ชำระภาษีในอัตราร้อยละ 15
                  กำไรสุทธิส่วนที่เกิน 1 ล้าน แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท  ชำระภาษีในอัตราร้อยละ 25
                  กำไรสุทธิส่วนทีเกิน 3 ล้านบาทขึ้นไปเสียภาษีในอัตราปกติ คือ ร้อยละ 30
 
                  จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นหากเรารู้จักการวางแผนภาษีแล้ว ก็จะทำให้เราประหยัดภาษีไปได้มาก   นั้นก็หมายความว่าทำให้ธุรกิจเรามีกำไรมากขึ้น รู้แล้วก็นำไปใช้ในธุรกิจของท่านแล้วกันนะครับ
 
 
 
 
วารสารหยดน้ำ
ฉบับเดือนกันยายน - ตุลาคม 2552

 




วารสารหยดน้ำ

บุคคลสำคัญ article
ตลาดน้ำคลองลัดมะยม article
มองด้านบวก
ก๋วยเตี๋ยวแคระ “เจ๊โหนก”
การสืบสวนสอบสวนของตำรวจไทย (มะเขือเทศ)
ซื่อสัตย์ จริงใจ รับใช้ชาวประชา
‘เพลินวาน’ย้อนเวลา หาความสุข
คลายร้อนด้วยอาหาร
จากใจกวี..
ออกกำลังกายสบายๆ สไตล์...เบาหวาน
เจ้าสัวทันควัน บำรุงขวัญตำรวจเพื่อประชาชน
ความสุขง่ายๆ หาได้รอบกาย
“มหกรรมหุ่นโคมไฟสวนสยาม”
อิ่มอร่อยสุดๆ ที่ ‘แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา’
เรื่องรับผิดในฐานะส่วนตัว
ทิวลิปนนท์...มนต์เสน่ห์เชื้อชาติฮอลแลนด์ สัญชาติไทย
เสกผิวให้สวยด้วย "เลเซอร์"
มองแง่บวก
10 ที่ท่องเที่ยวในฤดูหนาว
รู้ปัญหา ตั้งใจทำงานเพื่อส่วนรวม
จริงใจทำงาน พัฒนาท้องถิ่น
การวางแผนภาษีมรดก
แนะ 7 สัญญาณที่ผู้ขับขี่ควรรู้ article
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
12 ปี แห่งการใกล้ชิดประชาชน
‘กาหลง’
บันทึกธรรมจาก หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
โรคหัวใจ
ปัญหาประชาชนต้องได้รับการแก้ไข
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย
นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)
กำแพงสีเขียว
การวางแผนภาษี กิจการค้าขายอสังหาริมทรัพย์
มารู้จัก ศูนย์ กศน.เขตจอมทอง กันดีกว่า...
บริการประชาชนคือเป้าหมายการทำงาน
เลิกรบสงบศึก
มารู้จัก ศูนย์ กศน.เขตจอมทอง กันดีกว่า
หยดน้ำใจ สู่แดนใต้
ยาอมตราตะขาบ 5 ตัว ตำนานยาสมุนไพร 2 สัญชาติ
อิ่มบุญ อิ่มใจ สงกรานต์ไทย-รามัญที่วัดบางกระดี่
ภาษีที่ดิน-มรดกไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
ความสุขคือ การเป็นผู้ให้
ว่าว สีสันแห่งคิมหันตฤดู
ข้าวแกงบ้านสวน จุดนัดยามเดินทาง
ล่องเรือชมเกาะ ดูลิงแสม ตลาดน้ำวัดหัวกระบือ
รักประชาชน รักษ์สิ่งแวดล้อม
พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์
ตรุษจีน เทศกาลแห่งความมีโชค
นายตำรวจเปี่ยมคุณธรรม
ทำทุกอย่างเพื่อความสุขของประชาชน article