โรคหัวใจ
ReadyPlanet.com
dot


  [Help]
dot
Greenway Station
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
Greenway Member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


โรคหัวใจ
ใกล้หมอ
 
โรคหัวใจที่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดสามารถแยกออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1.โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart disease)
2.โรคหัวใจที่เกิดขึ้นหลัง (Acquired Heart disease)
 
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1.ชนิดเขียว
2.ชนิดไม่เขียว
 
            การผ่าตัดรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ไม่ว่าจะเป็นชนิดเขียว หรือไม่เขียว ก็มีทั้งการผ่าตัดแบบประคับประคองหรือแก้ไขได้ทั้งหมด จนกลับมาเหมือนปกติทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความผิดปกติที่มีมาแต่กำเนิดในผู้ป่วยแต่ละคน ความผิดปกติบางอย่างต้องทำการผ่าตัดรักษาตั้งแต่ระยะแรกคลอด ความผิดปกติบางอย่างสามารถรอจนโตขึ้นมาหน่อยได้
            โดยรวมแล้วการผ่าตัดหัวใจในเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กต้องอาศัยความละเอียดอ่อนมากกว่าการทำผ่าตัดในผู้ใหญ่หลายเท่าตัว วิธีการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติก็มีมากมายเป็นร้อยๆ ชนิดจำเป็นต้องใช้ทีมที่มีความสามารถสูงและเปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ถึงจะส่งผลการผ่าตัดได้ผลดี โดยทีมประกอบไปด้วยศัลยแพทย์หัวใจ วิสัญญีแพทย์ เจ้าหน้าที่เดินเครื่องปอดหัวใจ พยาบาลห้องผ่าตัด และพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤต (ICU) ดังนั้นโรงพยาบาล ที่สามารถทำผ่าตัดหัวใจพิการในเด็กได้และได้ผลดีด้วยจึงมีจำนวนไม่มาก
            โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลังที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด สามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ที่พบบ่อยดังดังต่อไปนี้
 
            1.โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
            2.โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว
            3.โรคของเส้นเลือดแดงใหญ่ (Aorta)
 
โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
            ปัจจุบันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบเป็นโรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลังที่พบมากที่สุด มีวิธีการรักษาทั้งชนิดที่ต้องผ่าตัดและไม่ผ่าตัด การรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดคือ การถ่างขยายเส้นเลือดหัวใจด้วยบอลลูนตรงตำแหน่งที่ตีบตัน โดยจะใส่ขดลวดขนาดเล็กเข้าไปค้ำเสริมด้วยหรือไม่ก็ได้
            เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจหลักๆ แล้วมี 3 เส้น แต่บางครั้งเส้นหลักแต่ละเส้นอาจมีเส้นกิ่งแขนงที่มีขนาดใหญ่ได้ ดังนั้นบางคราวแพทย์อาจต่อให้ 4 เส้น 5 เส้น หรือมากกว่านั้นก็ได้ ปัจจุบันเส้นเลือดที่นำมาใช้บ่อย การผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจ มีเส้นเลือดแดงหลังหน้าอกด้านซ้าย เส้นเลือดแดงหลังหน้าอกด้านขวา เส้นเลือดแดงที่บริเวณปลายแขนด้านซ้ายและขวา และเส้นเลือดดำที่ขา เส้นเลือดต่างๆ เหล่านี้มีอายุการใช้งานไม่เท่ากัน จากข้อมูลปัจจุบันพบว่า ในระยะเวลา 10 ปี เส้นเลือดแดงหลังหน้าอกจะยังคงใช้งานได้ดีประมาณ 90-95% เส้นเลือดแดง ที่บริเวณปลายแขนยังคงใช้งานได้ดีประมาณ 80-85% ส่วนเส้นเลือดดำที่ขายังคงใช้งานได้ดีประมาณ 50-60% ดังนั้นศัลยแพทย์หัวใจพยายามใช้เส้นเลือดแดงให้มากที่สุด แต่งบางครั้ง เส้นเลือดหัวใจที่ตีบมีหลายตำแหน่งไม่สามารถใช้เส้นเลือดแดงได้ทั้งหมด เนื่องจากข้อจำกัดของผู้ป่วย ก็จำเป็นต้องใช้เส้นเลือดดำเสริมในตำแหน่งที่มีความสำคัญน้อยกว่า
            โดยทั่วไปแล้ว ถ้าเส้นเลือดหลักทั้ง 3 เส้น ตีบตันหมด ก็เป็นข้อบ่งชี้ในการทำการผ่าตัดรักษา เนื่องจากการถ่างด้วยบอลลูน ต้องถ่างหลายเส้น หลายตำแหน่งและอาจต้องหลายหน บางครั้งต้องกลับมาถ่างซ้ำอีกเนื่องจากตีบตันที่ตำแหน่งเดิมที่ถ่างไปรวมๆ แล้วอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการถ่างด้วยบอลลูนสูงกว่าการผ่าตัดถึง 2-3 เท่าตัวหรือมากกว่า ผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการถ่างบอลลูน ก็มีโอกาสเสียชีวิตในห้องสวนหัวใจระหว่างการทำบอลลูนได้ มีโอกาสเสียชีวิตที่บ้านได้ เนื่องจากเส้นเลือดหัวใจตีบตันขึ้นมาใหม่ ซึ่งโอกาสเสียชีวิตเหล่านี้อาจจะมากกว่าการผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass graft) ที่ทำโดยศัลยแพทย์หัวใจที่มีความชำนาญสูง ซึ่งจะมีอัตราการเสียชีวิตเพียง 1-2% (ในผู้ป่วยที่นัดมาทำผ่าตัด) และยิ่งถ้าต่อด้วยเส้นเลือดแดงทั้งหมดแล้ว ในระยะ 10 ปี เส้นเลือดต่อไป จะมีโอกาสตันประมาณ 15-20%
            การผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจนั้น ปัจจุบันสามารถใช้ได้ทั้งวิธีที่ใช้เครื่อง ปอด-หัวใจ (Heart lung machine) และไม่ใช้เครื่อง ปอด-หัวใจเทียม (off pump) ข้อดี ข้อเสีย และผลของการผ่าตัดทั้งสองวิธีนี้ไม่ได้มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ในการที่ศัลยแพทย์หัวใจจะเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความถนัดและสภาวะของผู้ป่วยเป็นสำคัญ (อ่านต่อฉบับหน้า)
ข้อมูลโดย ; รศ.นพ.วิชัย เบญจชลมารค
ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และคณะกรรมการแพทย์โครงการผ่าตัดผู้ป่วยโรคหัวใจเฉลิมพระเกียรติ 500 ราย ถวายองค์มหาราชินี 80 พรรษา รพ.บางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
โทร 1745 หรือ 0-2877-1111 ต่อ 1216 www.bangkokhospital.com
 
 
 
 
 
วารสารหยดน้ำ
ฉบับเดือนกันยายน - ตุลาคม 2552

 




วารสารหยดน้ำ

บุคคลสำคัญ article
ตลาดน้ำคลองลัดมะยม article
มองด้านบวก
ก๋วยเตี๋ยวแคระ “เจ๊โหนก”
การสืบสวนสอบสวนของตำรวจไทย (มะเขือเทศ)
ซื่อสัตย์ จริงใจ รับใช้ชาวประชา
‘เพลินวาน’ย้อนเวลา หาความสุข
คลายร้อนด้วยอาหาร
จากใจกวี..
ออกกำลังกายสบายๆ สไตล์...เบาหวาน
เจ้าสัวทันควัน บำรุงขวัญตำรวจเพื่อประชาชน
ความสุขง่ายๆ หาได้รอบกาย
“มหกรรมหุ่นโคมไฟสวนสยาม”
อิ่มอร่อยสุดๆ ที่ ‘แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา’
เรื่องรับผิดในฐานะส่วนตัว
ทิวลิปนนท์...มนต์เสน่ห์เชื้อชาติฮอลแลนด์ สัญชาติไทย
เสกผิวให้สวยด้วย "เลเซอร์"
มองแง่บวก
10 ที่ท่องเที่ยวในฤดูหนาว
รู้ปัญหา ตั้งใจทำงานเพื่อส่วนรวม
จริงใจทำงาน พัฒนาท้องถิ่น
การวางแผนภาษีมรดก
แนะ 7 สัญญาณที่ผู้ขับขี่ควรรู้ article
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
12 ปี แห่งการใกล้ชิดประชาชน
‘กาหลง’
บันทึกธรรมจาก หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
ประหยัดภาษี ในธุรกิจแมนชั่นและอพาร์ทเมนต์ได้อย่างไร
ปัญหาประชาชนต้องได้รับการแก้ไข
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย
นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)
กำแพงสีเขียว
การวางแผนภาษี กิจการค้าขายอสังหาริมทรัพย์
มารู้จัก ศูนย์ กศน.เขตจอมทอง กันดีกว่า...
บริการประชาชนคือเป้าหมายการทำงาน
เลิกรบสงบศึก
มารู้จัก ศูนย์ กศน.เขตจอมทอง กันดีกว่า
หยดน้ำใจ สู่แดนใต้
ยาอมตราตะขาบ 5 ตัว ตำนานยาสมุนไพร 2 สัญชาติ
อิ่มบุญ อิ่มใจ สงกรานต์ไทย-รามัญที่วัดบางกระดี่
ภาษีที่ดิน-มรดกไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
ความสุขคือ การเป็นผู้ให้
ว่าว สีสันแห่งคิมหันตฤดู
ข้าวแกงบ้านสวน จุดนัดยามเดินทาง
ล่องเรือชมเกาะ ดูลิงแสม ตลาดน้ำวัดหัวกระบือ
รักประชาชน รักษ์สิ่งแวดล้อม
พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์
ตรุษจีน เทศกาลแห่งความมีโชค
นายตำรวจเปี่ยมคุณธรรม
ทำทุกอย่างเพื่อความสุขของประชาชน article