หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ReadyPlanet.com
dot


  [Help]
dot
Greenway Station
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
Greenway Member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ศูนย์ศิลป์ใจกลางกรุง
 
      เป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษที่กรุงเทพมหานครจะได้มีหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือ BANGKOK ART AND CULTURE CENTRE ที่ซึ่งเป็นจุดนัดพบของศิลปะและความคิดสร้างสรรค็ ในอาคารสถาปัตยกรรมร่วมสมัยในกลางเมืองกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่สำหรับคนทุกรุ่นทุกวัยเพื่อเกิดวัฒนธรรมใหม่ของการพูดคุยสังสรรค์ระหว่างผู้สร้างงานและคนชื่นชอบงานศิลป์ไม่ว่าจะเป็นดนตรี ละครเวที วรรณกรรม ภาพยนตร์ และการออกแบบ โดยการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างและต่อยอดจินตนาการ สร้างแรงบันดาลใจเติมเต็มการเรียนรู้ให้สมบูรณ์ในสังคมแห่งปัญญาอันนำไปสู่ทิศทางใหม่ของศิลปวัฒนธรรม         
 
 จุดเริ่มต้นของการมีหอศิลปวัฒนธรรม
 
            ความคิดเรื่องการมีหอศิลปสำหรับประชาชนในวงกว้างได้มีขึ้นมาหลายสมัย เนื่องจากในอดีตนโยบายภาครัฐยังไม่มีความชัดเจนในการสนับสนุนงานด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างจริงจัง และเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาสติปัญญา อารมณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศ สิ่งนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของแนวร่วมศิลปินไทยในการสร้างหอศิลปร่วมสมัย เพื่อให้มีหอศิลปที่ทัดเทียมกับสากล และเป็นเกียรติศักดิ์ศรีกับประเทศ รวมทั้งเพื่อให้สังคมมีแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นทางเลือกเพื่อจรรโลงยกระดับจิตใจควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ หอศิลปสำหรับประชาชนควรเป็นการลงทุนจากภาครัฐ โดยไม่แสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ เป็นการลงทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเช่นเดียวกับการสร้างสาธารณูปโภค การสร้างหอศิลปเปรียบเป็น “สาธารณูปโภคทางสมอง”
 
ภายในอาคารของหอศิลปวัฒนธรรม
 
            เมื่อย่างก้าวเข้าไปยังภายในหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครนั้นจะพบว่ามีพื้นที่ทั้งหมด 9 ชั้น คือ ชั้น L เป็นแหล่งรวบรวมหนังสือและสื่อความรู้ด้านศิลปะพร้อมบริการอินเตอร์เน็ตและมุมเด็กเล็ก
            ชั้น 1 -4 เป็นส่วนที่เรียกว่า ART-RIUM@BACC
โดยที่ชั้น 1 เป็นส่วนของการออกร้านจากสถาบันการศึกษาทางศิลปะและดนตรีชั้นนำ
            ชั้น 2 เพลิดเพลินกับร้านหนังสือที่คัดสรรพิเศษและแตกต่าง รวมทั้งหนังสือหายาก หนังสือทำมือ และภาพยนตร์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันโดยหอภาพยนตร์แห่งชาติและมูลนิธิ
            ชั้น 3 พบกับงานหัตถกรรมจากโครงการในพระราชดำริ
            ชั้น 4 มีการจัดแสดงภาพถ่ายของสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศ และทัศนศิลป์ร่วมสมัยจากกลุ่มแกลลอรี่ชั้นนำ
            ชั้น 5 สำหรับการประชุม ฉายภาพยนตร์ การแสดงดนตรี ละครเวที อบรม เสวนา และการแสดงต่างๆ
            ชั้น 7-9 ที่จัดแสดงงานทัศนศิลป์
 
            หลายคนอาจมีข้อกังขาว่ากรุงเทพจะได้อะไรเมื่อมีหอศิลปวัฒนธรรม และหอศิลปนั้นมีประโยชน์อย่างไร ซึ่งเอกสารอาร์ตโหวตโดยเครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เมื่อสิงหาคม ปี 2547 ได้ระบุความสำคัญในประเด็นต่างๆ ไว้อย่างชัดเจนว่า
 
หอศิลปคืออะไร
 
            “หอศิลปเป็นสถานที่ทำกิจกรรมด้านศิลปะ เป็นสถานที่รองรับศิลปิน นักออกแบบ ผู้สร้างภาพยนตร์ ฯลฯ สร้างผลงานความคิดสร้างสรรค์เสนอต่อประชาชน โดยผู้สร้างและผู้เสพมีจุดนัดพบที่หอศิลป เป็นกระบวนการและกลไกทางสังคม ที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรม ในฐานะผู้เสพและเป็นผู้รับรู้ในผลงานศิลปะทำให้ได้มาซึ่งสติปัญญา มีความคิดเห็นทันกับสมัยหรือร่วมสมัย อาจกล่าวได้ว่าหอศิลปเป็นพื้นฐานการสร้างวัฒนธรรมโดยสมบูรณ์แบบ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมสร้าง และประชาชนก็จะมีความเป็นเจ้าของวัฒนธรรม ส่วนที่จะเรียกว่า “หอศิลปวัฒนธรรม” นั้น ก็เป็นไปได้ เพราะคำว่าวัฒนธรรมในความเข้าใจของคนหลายคนนั้น มีความเป็นไทย หรือไทยประเพณี ถ้าเรานึกว่าหอศิลปนั้นจะเป็นที่นัดพบของคนทั่วไปก็ต้องเริ่มจากพื้นฐานคุณค่าที่มีแต่ดั้งเดิมและคุ้นกันอยู่ และทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับทั้งย้อนยุคและร่วมสมัยเป็นกระบวนการวัฒนธรรมที่มีความต่อเนื่อง”
 
ทำไมจึงต้องมีหอศิลป
 
            “หอศิลปเป็นโครงสร้างพื้นฐานการดำรงชีวิตของชุมชนซึ่งในปัจจุบันถูกมองข้าม มีความจำเป็นและความสำคัญเช่นเดียวกับห้องสมุดหรือพิพิธภัณฑ์ ซึ่งสถาบันเหล่านี้เปรียบเสมือนสาธารณูปโภคที่จะพัฒนาสังคมด้านสมองและจิตใจ”
 
ศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับชีวิตอย่างไร
       “ศิลปวัฒนธรรมอยู่ใกล้ตัวจนมองไม่เห็น เป็นสิ่งที่สะสมอยู่ และสถิตอยู่ในความนึกคิดของเราตั้งแต่ ก เอ๋ย ก ไก่ มาแล้ว นี่คือความเป็นมนุษย์ที่อยู่ในห้วงอารยธรรม จากที่เกิดมาไม่มีอะไรในหัว จนถึงทุกภาพที่เคยประจักษ์แก่สายตา ทุกท่วงทำนองเพลงที่จำได้ ช่อฟ้าใบระกา ขุนช้าง ขุนแผน พระลอ เพื่อนแพง แม่พลอย ขวัญเรียม แฮมเล็ต แบทแมน หรือใครก็ตามที่เรียกกลับมาได้เป็นฉากๆ ศิลปวัฒนธรรมเป็นเรื่องของจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ความรู้ การมอง การฟัง การสัมผัส การสังเกตเปรียบเทียบ วิจารณ์ สร้างสรรค์หลายๆ อย่าง  ที่จุดประกายความคิด เปิดโลกทัศน์ พัฒนาไปข้างหน้า หรือถ้ามองกลับทางอดีต ทุนวัฒนธรรมที่คนรุ่นก่อนได้สืบสานสร้างสรรค์ให้เป็นเอกลักษณ์ ความคุ้นเคย ศรัทธา ล้วนเกื้อกูล และหนุนความมั่นใจทางวัฒนธรรมทั้งสิ้น”
 
           
ใครจะได้ประโยชน์เมื่อมีหอศิลป
 
            “ทุกวันนี้ผู้คนไม่ค่อยมีทางเลือกที่จะไปไหน คุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ ถูกละเลย รูปแบบของการนันทนาการไม่พอเพียงคนกรุงเทพฯ ขาดอาหารทางสมองและจิตใจ เยาวชนไม่มีทางเลือกที่จะไปใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ความสนุกเพลิดเพลินของเยาวชนไม่จำเป็นจะต้องไปอยู่ที่ศูนย์การค้ากับแหล่งบันเทิงเท่านั้น การมีโอกาสที่จะใช้เวลาในหอศิลปบ้างก็จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาผู้ที่จะเป็นอนาคตของชาติ เยาวชนจะได้รับและสัมผัสสิ่งที่มีคุณค่าทางสุนทรีย์ สิ่งแปลกใหม่ได้รับการฝึกทักษะในการมอง การสังเกต เข้าใจในกระบวนการสร้างสรรค์ และได้รับความรู้ทางวัฒนธรรม”
 
หอศิลปจะมีกิจกรรมอะไรบ้าง
 
            “โดยหลักแล้วหอศิลปจะเป็นที่แสดงงาน ที่จัดงานศิลปะแขนงต่างๆ ในแนวทัศนศิลป์ เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย งานประติมากรรม และจัดนิทรรศการพิเศษ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับงานออกแบบจนถึงงานพื้นบ้าน จะแปลกตาเปลี่ยนเวียนอยู่ทุกเดือน นอกจากนั้นแล้วยังมีห้องเล็กใหญ่สำหรับจัดประชุม เสวนา เล่นดนตรี ละคร อ่านบทกวี และภาพยนตร์ ส่วนที่ไม่เปลี่ยนคือห้องนิทรรศการถาวรและห้องสมุดศิลปะ ซึ่งจะเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลความรู้ประจำ นอกจากนี้ยังมีศูนย์เก็บรักษางานศิลปะ ห้องปฏิบัติการศิลปะสำหรับเด็กและชุมชน มีพื้นที่ทำโครงการ ส่งเสริมและพัฒนางานด้านศิลปวัฒนธรรม มีพื้นที่สังสรรค์ ร้านอาหาร ตลอดจนพื้นที่ใต้หอศิลปที่จะเปิดให้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะ เช่น แกลอรี่รูปภาพ ร้านเครื่องเขียน ร้านหนังสือ ฯลฯ”
 
 กรุงเทพจะได้อะไรเมื่อมีหอศิลปวัฒนธรรม    
 
             “กรุงเทพฯ มองข้ามความสำคัญของสาธารณูปโภคด้านวัฒนธรรมโดยมองเห็นเพียงสิ่งที่จะไปเอื้ออำนวยในทางที่อยู่อาศัย การคมนาคม และเรื่องปากเรื่องท้อง มองไม่เห็นถึงคุณภาพชีวิตที่ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ มองไม่เห็นถึงเบ้าหลอมชีวิตและจิตใจของคนที่จะต้องอยู่ร่วมกัน จริงอยู่ว่าคนส่วนมากต้องทำมาหากินห่วงเรื่องปากเรื่องท้อง และน้อยคนจะสนใจเรื่องศิลปะ อย่างไรก็ตาม ศิลปะนั้นแฝงอยู่ในเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ อยู่อย่างเต็มอัตรา เช่น การท่องเที่ยวนั้นพึ่งพาวัดวาอาราม ซึ่งเป็นผลงานศิลปวัฒนธรรมคนรุ่นเก่า ทำให้นักท่องเที่ยวต้องอยู่กรุงเทพฯ อยู่โรงแรมต่างๆ ซึ่งต้องพึ่งงานด้านสถาปัตยกรรมและตกแต่งภายใน เป็นต้น
            ขณะที่อุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น ภาพยนตร์ แฟชั่น ออกแบบผลิตภัณฑ์ จากเครื่องถ้วยชามจนถึงรถยนต์ ล้วนเป็นสิ่งที่มาจากการสร้างสรรค์ จากต้นสายที่เป็นศิลปวัฒนธรรมอีกด้วย หอศิลปเปรียบเสมือนแหล่งหัวเชื้อของความคิดสร้างสรรค์ เป็นจุดสร้างแรงบันดาลใจ”
 
นิทรรศการอันเป็นมงคลงานแรกของหอศิลป์ฯ
 
            ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 29 ก.ค.-24 ส.ค. 2551 จำนวน 230 ภาพ ที่ได้ทรงบันทึกไว้ขณะเสด็จฯ เยือนสถานที่ต่างๆ กว่า 20 ประเทศทั่วโลก โดยจัดแสดงเรียงตามลำดับปีของภาพที่ได้ทรงบันทึกไว้ตั้งแต่ปี 2547-2551 อาทิ ภาพพระบรมรูปทรงม้า ภาพขบวนเสด็จที่ประเทศกานา ภาพ Petra เมืองมหัศจรรย์ของโลก ภาพผมหลับ
 
นิทรรศการน่าชมในเดือนมกราคม 2553
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง”
ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 31 มกราคม 2553 ณ ห้องนิทรรศการชั้น 9
            สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ เพื่อนำมาจัดแสดงนิทรรศการอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “แสงคือสี สีคือแสง” ในปี 2550 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง” ในปี 2551
และในปีนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เพื่อจัดนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง” เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสชื่นชมพระอัจฉริยภาพด้านการถ่ายภาพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ เพื่อจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ จำนวน 187 ภาพ ซึ่งเป็นภาพถ่ายที่ทรงบันทึกไว้ในช่วงปี 2551–2552 เช่นภาพ Strong, Young Guard และ Human-Face Bugs ซึ่งภาพต่างๆ ล้วนแสดงถึงความมีพระอารมณ์ขัน และมุมมองของพระองค์ต่อเหตุการณ์ต่างๆ
 
สุก-ดิบ อาทิตย์อุไทย
ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 10 มกราคม 2553 ณ ห้องนิทรรศการชั้น 8
            เป็นส่วนหนึ่งของโครงการจากเจแปนฟาวน์เดชั่นเพื่อเฉลิมฉลองปีแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศลุ่มแม่น้ำโขงและญี่ปุ่น โดยศิลปินที่โดดเด่นชาวญี่ปุ่น17 คน ซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากวัฒนธรรม-สมัยนิยม (pop culture) อย่างเช่น การ์ตูนมังงะ และการ์ตูนอนิเมะ โดยเน้นให้เห็นถึงแนวทางสังคม และกระแสใหม่น่าสนใจที่เกิดขึ้น ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น ผ่านงานจิตรกรรม ศิลปะการจัดวาง วิดีโออาร์ต ประติมากรรม ภาพถ่าย หรือแม้แต่หุ่นยนต์ขนาดใหญ่ สูงกว่า 7 เมตร สามารถพ่นไฟ พูด เต้น และร้องได้ ซึ่งเป็นไฮไลท์ของงานนี้ และหุ่นยนต์ขนาดจิ๋วอีกกว่า 30 ตัว
 
ถึงพริกถึงขิง มุมมองใหม่สุภาษิตไทย
ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 17 มกราคม 2553 ณ ห้องนิทรรศการชั้น 3-4
            นิทรรศการที่หยิบยก 50 สุภาษิตไทยมานำเสนอให้มีชีวิตชีวาด้วย ชั้นเชิงที่มีรสนิยม และสร้างสรรค์ในรูปแบบของนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย โดยแต่ละชิ้นงานได้รับการถ่ายทอด จากศิลปินที่โดดเด่น สะท้อนถึงวัฒนธรรมไทยยุคใหม่ โดยมี ตุลยา พรพิริยกุลชัย เป็นภัณฑารักษ์ และงามพรรณ เวชชาชีวะ นักเขียนรางวัลซีไรต์ เป็นผู้เขียนคำบรรยายสุภาษิตไทย รวมทั้งนำมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวของเด็กหญิง “ลำน้ำ” ซึ่งมาอยู่กับป้าและลุงในกรุงเทพฯ และได้สัมผัสปัญหาที่ยากจะหาทางออกได้ โดยเชื่อมโยงสุภาษิตไทย โบราณกับมหานครที่ทันสมัยได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งศิลปินที่ร่วมแสดงผลงานในครั้งนี้ ได้แก่ กิจจา ยามันสะบีดิน, เกษร ผลจำนง, จักกาย ศิริบุตร, จิตต์สิงห์ สมบุญ, ม.ล. จิราธร จิรประวัติ, เจษฎา ธีระภินันท์ , ชนัญญา กิจเจริญชัย, ชูศักดิ์ ศรีขวัญ, ตุลยา พรพิริยะกุลชัย, ทิววัฒน์  ภัทรกุลวณิชย์, ธีรนัย เพชรนะ, นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์, ประธาน โกมลหิรัณย์, พินรี สัณฑ์พิทักษ์, มานิต ศรีวานิชภูมิ, วิน ลีระสันธนะ, วรวุฒิ เจียรนัย, สุธี คุณาวิชยานนท์, สุรชัย พัฒนากิจไพบูลย์, สุรชัย แสงสุวรรณ และองอาจ เจียมเจริญพรกุล
 
            หากจะเดินทางไปชื่มงานศิลป์ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00 น.–21.00 น. (หยุดวันจันทร์)
 
 
 
 
 
วารสารหยดน้ำ
ฉบับเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2552

 




วารสารหยดน้ำ

บุคคลสำคัญ article
ตลาดน้ำคลองลัดมะยม article
มองด้านบวก
ก๋วยเตี๋ยวแคระ “เจ๊โหนก”
การสืบสวนสอบสวนของตำรวจไทย (มะเขือเทศ)
ซื่อสัตย์ จริงใจ รับใช้ชาวประชา
‘เพลินวาน’ย้อนเวลา หาความสุข
คลายร้อนด้วยอาหาร
จากใจกวี..
ออกกำลังกายสบายๆ สไตล์...เบาหวาน
เจ้าสัวทันควัน บำรุงขวัญตำรวจเพื่อประชาชน
ความสุขง่ายๆ หาได้รอบกาย
“มหกรรมหุ่นโคมไฟสวนสยาม”
อิ่มอร่อยสุดๆ ที่ ‘แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา’
เรื่องรับผิดในฐานะส่วนตัว
ทิวลิปนนท์...มนต์เสน่ห์เชื้อชาติฮอลแลนด์ สัญชาติไทย
เสกผิวให้สวยด้วย "เลเซอร์"
มองแง่บวก
10 ที่ท่องเที่ยวในฤดูหนาว
รู้ปัญหา ตั้งใจทำงานเพื่อส่วนรวม
จริงใจทำงาน พัฒนาท้องถิ่น
การวางแผนภาษีมรดก
แนะ 7 สัญญาณที่ผู้ขับขี่ควรรู้ article
12 ปี แห่งการใกล้ชิดประชาชน
‘กาหลง’
บันทึกธรรมจาก หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
โรคหัวใจ
ประหยัดภาษี ในธุรกิจแมนชั่นและอพาร์ทเมนต์ได้อย่างไร
ปัญหาประชาชนต้องได้รับการแก้ไข
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย
นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)
กำแพงสีเขียว
การวางแผนภาษี กิจการค้าขายอสังหาริมทรัพย์
มารู้จัก ศูนย์ กศน.เขตจอมทอง กันดีกว่า...
บริการประชาชนคือเป้าหมายการทำงาน
เลิกรบสงบศึก
มารู้จัก ศูนย์ กศน.เขตจอมทอง กันดีกว่า
หยดน้ำใจ สู่แดนใต้
ยาอมตราตะขาบ 5 ตัว ตำนานยาสมุนไพร 2 สัญชาติ
อิ่มบุญ อิ่มใจ สงกรานต์ไทย-รามัญที่วัดบางกระดี่
ภาษีที่ดิน-มรดกไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
ความสุขคือ การเป็นผู้ให้
ว่าว สีสันแห่งคิมหันตฤดู
ข้าวแกงบ้านสวน จุดนัดยามเดินทาง
ล่องเรือชมเกาะ ดูลิงแสม ตลาดน้ำวัดหัวกระบือ
รักประชาชน รักษ์สิ่งแวดล้อม
พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์
ตรุษจีน เทศกาลแห่งความมีโชค
นายตำรวจเปี่ยมคุณธรรม
ทำทุกอย่างเพื่อความสุขของประชาชน article