จริงใจทำงาน พัฒนาท้องถิ่น
ReadyPlanet.com
dot


  [Help]
dot
Greenway Station
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
Greenway Member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


จริงใจทำงาน พัฒนาท้องถิ่น
จริงใจทำงาน พัฒนาท้องถิ่น
ไสว โชติกะสุภา
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตราษฎร์บูรณะ
 
           ด้วยประสบการณ์การทำงานการเมืองท้องถิ่นและทราบถึงปัญหาชุมชนมากว่า 28 ปี ทำให้ ไสว โชติกะสุภา ได้รับความไว้วางใจได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นสมัยที่ 3 รวมทั้งยังมีประวัติการทำงานดีเยี่ยมด้วยรางวัลแหนบทองคำในฐานะผู้ใหญ่บ้านดีเด่นจากกระทรวงมหาดไทย ทั้งๆ ที่ก่อนหน้าที่จะเดินทางสู่เส้นทางการเมืองนั้นท่านเคยผ่านงานการเป็นพนักงานประจำห้องพักโรงแรม ทหารกองประจำการกองพันทหารอากาศโยธิน พนักงานขับรถ จนกระทั่งได้เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สู่ตำแหน่งอันภาคภูมิต่างๆ รวมทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งรองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่ 1 เมื่อปี 2549-2551 อีกด้วย
 
ชีวิตในวันวาร
           “ผมเกิดเมื่อปี 2491 คุณพ่อเสียชีวิตตั้งแต่เด็ก มีอาชีพรับจ้างทั่วไป จบมัธยมที่โรงเรียนวัดแจงร้อน เดิมครอบครัวนั้นยากจน เป็นคนหาเช้ากินค่ำ พอจบม.3 ก็มีญาติชวนไปทำหน้าที่คนรักษาความสะอาด ที่โรงแรมมานิดา หน้าไปรษณีย์กลาง ซึ่งตอนนี้ได้เลิกกิจการไปแล้ว ผมทำทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งล้างจาน รวมทั้งรูมบอย ตั้งแต่ปี 2507 จากนั้นมาก็ถูกเกณฑ์ทหารเมื่อปี 2511 และก็ไปทำหน้าที่ขับรถให้กับเจ้าของบริษัทไทยสินคอมเมอร์เชียลจำกัด และบริษัทเซมมิเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
           จากนั้นจึงไปช่วยงานในตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ให้กับผู้ใหญ่บ้านสมาน วุฒิสมบูรณ์ หมู่ 4 บางปะกอก ด้วยความที่เป็นคนชอบอาสาทำโน่นทำนี่มาเรื่อย ต่อมาท่านผู้ใหญ่สมานไปสมัครเป็น ส.ส. ผมเองโดยส่วนตัวก็ไม่ได้สนใจจะลงตำแหน่งทางการเมือง แต่เมื่อท่านผู้ใหญ่สมานลาออกจากการเป็นผู้ใหญ่บ้าน ผมก็ได้มีโอกาสไปลงสมัคร ซึ่งในขณะนั้นไม่มีคนชิงตำแหน่งนี้ และด้วยความที่ผมเคยผ่านงานมาบ้างเลยทำให้ผมได้รับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ม.4 เขตราษฎร์บูรณะเมื่อปี 2529 จากนั้นก็เป็นผู้ใหญ่บ้านมาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี 2540 ผมก็ได้รับรางวัลแหนบทองคำ ซึ่งเป็นรางวัลผู้ใหญ่บ้านดีเด่นจากกระทรวงมหาดไทย”
 
เส้นทางสู่การเมือง
           “ต่อมาท่านถวิล ไพรสณฑ์ ได้มาชวนผมเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ช่วงแรกผมก็ยังไม่ได้สนใจ เพราะผมจบแค่ ม.3 เท่านั้น ผมเองโดยส่วนตัวแล้วไม่มีความคิดที่จะเข้าสังกัดพรรคการเมืองไหน สุดท้ายท่านถวิลก็มาชวนผมอีกรอบให้ลงสมัคร ส.ก.พรรคประชาธิปัตย์ แข่งกับพรรคไทยรักไทย เมื่อปี 2541 แต่ด้วยความที่ผมรู้จักคนเยอะแล้วก็มีคนเห็นว่าผมเป็นคนทำงาน ปรากฏว่าชนะการเลือกตั้ง แต่ว่าก็ไม่ได้มีคะแนนที่มากมายนัก และในสมัยแรกนี้ก็ได้ตำแหน่ง ส.ข.มาด้วยอีก 7 คน
           ผมเองมีเป้าหมายในการทำงาน ด้วยความที่เป็นนักเรียนโรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาสและโรงเรียนวัดแจงร้อน ผมมองว่าการศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องทำก่อน และผมก็มีนโยบายในการทำงานว่าถ้าได้รับการเลือกตั้ง ผมจะสนับสนุนเรื่องการศึกษาเป็นอันดับแรก จึงเริ่มศึกษาระบบงบประมาณ สื่อการเรียนการสอน เรื่องสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน จึงได้เริ่มต้นทำในเรื่องการศึกษาเป็นอันดับต้นๆ
           เมื่อเลือกตั้งสมัยที่ 2 ต่อมาได้เป็น ส.ก. เพียงคนเดียว เมื่อได้เข้ามาทำงานในเขตราษฎร์บูรณะก็ได้รู้ว่าที่ผ่านมาไม่ได้มีความร่วมมือระหว่างข้าราชการกับนักการเมืองเลย ผมจึงได้เข้ามาช่วยเหลือประชาชนและรู้ว่าเขามีความต้องการอย่างไร พอมีงบประมาณเข้ามาก็เริ่มกระจายออกไปสู่โรงเรียนต่างๆ เป็นอันดับแรก การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นเรื่องรองลงมาและเรื่องของการศาสนา แม้แต่สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ เพราะผมเห็นว่าพนักงานลูกจ้างของกทม. ไม่ว่าจะเป็นคนกวาดถนน คนงานล้างท่อ คนทั้งหลายเหล่านี้ย่อมมีความสำคัญต่อการพัฒนากรุงเทพมหานคร เราต้องให้เกียรติเขาต้องเข้าไปดูแลความเป็นอยู่ให้กับคนเหล่านี้เพราะเขามีส่วนที่ทำให้กรุงเทพมหานครมีความสะอาด น่าอยู่
           ส่วนเรื่องของศาสนาผมก็มองช่องทางอยู่ว่าเราจะหาช่องทางเพื่อนำงบประมาณอะไรมาบำรุงวัดได้บ้าง พอมาถึงการเป็น ส.ก.สมัยที่ 3 คุณภรภัทร ภรรยาได้มาเป็น 1 ในทีม ส.ข.ของผมพร้อมๆ กับ ส.ข.ธเนศ ซึ่งตรงกับสมัยที่คุณอภิรักษ์เป็นผู้ว่าฯ จึงได้เสนอเรื่องเข้าไปเพราะมีโครงการที่ทาง กทม. ต้องการให้วัดแจงร้อนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร จึงทำเรื่องซ่อมแซมปรับปรุงถนนหน้าวัดโดยได้งบประมาณมา 2 ล้าน และอีก 11 ล้านเพื่อปรับปรุงพระอุโบสถ จากนั้นก็ซ่อมวิหารเป็นที่เรียบร้อย และปัจจุบันวัดแจงร้อนเป็นศูนย์การเรียนรู้ของโรงเรียนวัดแจงร้อน และโรงเรียนแจงร้อนวิทยา ต่อมาก็ได้บำรุงอีกหลายวัดในเขตราษฎร์บูรณะ”
 
แผนงานในอนาคต
           “ผมกำลังจะปรับปรุงซอยสุขสวัสดิ์ 30 เพื่อเชื่อมเส้นทางพุทธบูชา 39 เขตจอมทอง 25 เพื่อทะลุออกเส้นทางพระราม 2 ด้วยงบประมาณ 60 ล้านบาท และจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปีนี้ ผมยังต้องการหาที่ทำถนนเพิ่มเติมจากคนที่ต้องการบริจาคที่ดินในถนนประชาอุทิศเพื่อให้สาธารณะด้วยการข้ามคลองราษฎร์บูรณะมาได้ก็จะทำให้เส้นทางสะดวกขึ้น ตอนนี้ผมก็กำลังประกาศหาคนที่ต้องการบริจาคที่ดินอยู่
เพราะผมเป็นคนที่ไม่ชอบการเป็นทางการ ไม่ใช่คนเจ้ายศเจ้าอย่าง ใครจะมาปรึกษาหารือเรื่องใดก็ได้ ผมอาศัยว่ามีความจริงใจในการทำงาน เมื่อรับปากใครในเรื่องอะไรก็ต้องทำให้ได้ แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องบอกว่าไม่สามารถทำให้ได้ ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในเขตราษฎร์บูรณะผมว่า เกือบสมบูรณ์ถ้าคนภายในเขตมีความร่วมมือ จับมือกันได้เพื่อเอกภาพของท้องถิ่น เขตราษฎร์บูรณะจะน่าอยู่มาก
และในเดือน ก.ค. ที่กำลังจะหมดวาระลง ผมวางแผนไว้ว่าเมื่อหมดสมัยที่ 3 นี้แล้ว ต้องบอกว่าเรื่องของการเมืองนั้น ผมไม่ต้องการคนที่จะมาเอาเงินจากผม และผมก็ไม่ต้องการคุณ แต่ผมต้องการคนที่เดือดร้อนแล้วมีใจเข้ามาหาผมเพื่อผมจะได้ช่วยเหลือ การให้เงินประชาชนถือว่าเป็นการดูถูกประชาชน แต่หากประชาชนจะเลือกผม ต้องใช้งานผม ต้องใช้ใจต่อใจ ทุกวันนี้ผมก็ทำงานอย่างเต็มที่ มีทีมงานลงพื้นที่ทุกวัน เหลืออยู่เรื่องเดียวที่ต้องการทำคืออยากให้น้ำในคลองราษฎร์บูรณะมีความใสสะอาด ซึ่งผมเองพยายามทำมาโดยตลอด แต่ยังไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควร”
 
ผลงานอันภาคภูมิ
           “ผมมีความภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือเรื่องโรงเรียนในเขตราษฎร์บูรณะได้มาก โดยส่วนตัวแล้ว 11 ปี ที่ผ่านมาผมว่า ‘คนเป็นนักการเมืองต้องมีความจริงใจ พัฒนาท้องถิ่น ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง’ หลายคนอาจมองว่าผมมีผลประโยชน์ บอกได้เลยว่าถ้าไม่มีธุรกิจบริษัทพนมชัยแมนูแฟคเจอร์จำกัดเป็นของตัวเองก็ไม่สามารถไปช่วยเหลือประชาชนได้หรอก เพราะเงินเดือนเพียง 4 หมื่นบาท เพียงแค่ภาษีสังคมต่อวันก็ไม่เพียงพอแล้ว แต่ว่าเราไม่ได้คิดตรงนั้น ผมเองก็แบ่งปันเงินจากธุรกิจลูกๆ มาบ้าง ผมเชื่อว่าในสายตาของชาวบ้านเขาไม่มองผมว่าเป็นคนเจ้าเล่ห์แน่นอน
 
           สุดท้ายอยากฝากถึงพี่น้องชาวเขตราษฎร์บูรณะว่าผมอยากสร้างสรรค์ให้กรุงเทพมหานครมีความน่าอยู่ หากพี่น้องประชาชนมีความเดือดร้อนสามารถติดต่อผมได้ตลอด อยากให้ทุกคนรักกัน อย่าแบ่งแยกกันด้วยสีเสื้อ หรือเงินตราแล้วทุกคนจะมีความสุข” นี่คือสิ่งที่ผู้อุทิศตนเพื่อประชาชนได้ตั้งปณิธานเอาไว้ ซึ่งเชื่อว่าคงเป็นของขวัญในการเริ่มต้นปีใหม่ที่ทำให้ทุกคนอิ่มเอมใจได้เป็นอย่างดี
 
 
 
 
 
 
 
 
วารสารหยดน้ำ
ฉบับเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2552

 

 




วารสารหยดน้ำ

บุคคลสำคัญ article
ตลาดน้ำคลองลัดมะยม article
มองด้านบวก
ก๋วยเตี๋ยวแคระ “เจ๊โหนก”
การสืบสวนสอบสวนของตำรวจไทย (มะเขือเทศ)
ซื่อสัตย์ จริงใจ รับใช้ชาวประชา
‘เพลินวาน’ย้อนเวลา หาความสุข
คลายร้อนด้วยอาหาร
จากใจกวี..
ออกกำลังกายสบายๆ สไตล์...เบาหวาน
เจ้าสัวทันควัน บำรุงขวัญตำรวจเพื่อประชาชน
ความสุขง่ายๆ หาได้รอบกาย
“มหกรรมหุ่นโคมไฟสวนสยาม”
อิ่มอร่อยสุดๆ ที่ ‘แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา’
เรื่องรับผิดในฐานะส่วนตัว
ทิวลิปนนท์...มนต์เสน่ห์เชื้อชาติฮอลแลนด์ สัญชาติไทย
เสกผิวให้สวยด้วย "เลเซอร์"
มองแง่บวก
10 ที่ท่องเที่ยวในฤดูหนาว
รู้ปัญหา ตั้งใจทำงานเพื่อส่วนรวม
การวางแผนภาษีมรดก
แนะ 7 สัญญาณที่ผู้ขับขี่ควรรู้ article
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
12 ปี แห่งการใกล้ชิดประชาชน
‘กาหลง’
บันทึกธรรมจาก หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
โรคหัวใจ
ประหยัดภาษี ในธุรกิจแมนชั่นและอพาร์ทเมนต์ได้อย่างไร
ปัญหาประชาชนต้องได้รับการแก้ไข
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย
นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)
กำแพงสีเขียว
การวางแผนภาษี กิจการค้าขายอสังหาริมทรัพย์
มารู้จัก ศูนย์ กศน.เขตจอมทอง กันดีกว่า...
บริการประชาชนคือเป้าหมายการทำงาน
เลิกรบสงบศึก
มารู้จัก ศูนย์ กศน.เขตจอมทอง กันดีกว่า
หยดน้ำใจ สู่แดนใต้
ยาอมตราตะขาบ 5 ตัว ตำนานยาสมุนไพร 2 สัญชาติ
อิ่มบุญ อิ่มใจ สงกรานต์ไทย-รามัญที่วัดบางกระดี่
ภาษีที่ดิน-มรดกไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
ความสุขคือ การเป็นผู้ให้
ว่าว สีสันแห่งคิมหันตฤดู
ข้าวแกงบ้านสวน จุดนัดยามเดินทาง
ล่องเรือชมเกาะ ดูลิงแสม ตลาดน้ำวัดหัวกระบือ
รักประชาชน รักษ์สิ่งแวดล้อม
พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์
ตรุษจีน เทศกาลแห่งความมีโชค
นายตำรวจเปี่ยมคุณธรรม
ทำทุกอย่างเพื่อความสุขของประชาชน article