ซื่อสัตย์ จริงใจ รับใช้ชาวประชา
ReadyPlanet.com
dot


  [Help]
dot
Greenway Station
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
Greenway Member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


ซื่อสัตย์ จริงใจ รับใช้ชาวประชา
ซื่อสัตย์ จริงใจ รับใช้ชาวประชา
พ.ต.อ.สวัสดิ์ จำปาศรี ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม.
 
             เป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตาชาวประชาย่านฝั่งธนฯ เป็นอย่างดี สำหรับนายตำรวจที่ชื่อ พ.ต.อ.สวัสดิ์ จำปาศรี ถึงแม้วันนี้จะไม่ได้รับราชการตำรวจก็ตาม แต่ก็ยังคงทำหน้าที่ใกล้ชิดประชาชน ด้วยตำแหน่งที่น่าภาคภูมิใจ “ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร” และยังการันตีด้วยตำแหน่งนายตำรวจมือปราบเจ้าของรางวัลมือปราบดีเด่น 2 ปีซ้อน แน่นอนว่าต้องมีประวัติและความเป็นมาในการดำเนินชีวิตที่ไม่ธรรมดา
 
ชีวิตที่ต้องสู้ในวัยเด็ก
             เดิม พ.ต.อ.สวัสดิ์ จำปาศรี เป็นชาวโคราช คุณพ่อคือ กำนันทองคำ จำปาศรี คุณแม่กองสี จำปาศรี ได้เข้าเรียนชั้น ป.1 ที่โรงเรียนวัดโพธิ์ศรีบรรจง ตั้งแต่อายุเพียง 4 ขวบ เพราะความที่เป็นลูกชายของกำนัน การเรียนในวัยเด็กถือว่าอยู่ในเกณฑ์พอใช้ แต่ชีวิตเริ่มมีการหักเหเมื่อย่างเข้าสู่วัยหัวเลี้ยว หัวต่อ เพราะคุณแม่จากไปเมื่อตอนที่อายุเพียง 14 ปี และคุณพ่อก็มีภรรยาใหม่ เพราะความไม่เข้าใจกับครอบครัวในเวลานั้น จึงเดินทางออกจากบ้านมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพด้วยเงินเพียง 130 บาท ทำงานตั้งแต่ขี่จักรยานส่งของตามร้านขายของชำ ถีบสามล้อ เด็กเสิร์ฟ ชกมวย และเมื่อชีวิตไม่ค่อยจะราบรื่นสักเท่าไร จึงเดินทางกลับไปที่บ้าน และเมื่อย่างเข้าวัยหนุ่มก็เกิดเรื่องอีกครั้ง เมื่อมีเหตุให้ต้องออกจากบ้าน และครั้งนี้เอง ที่ทำให้ชีวิตของผู้ชายที่ชื่อ “สวัสดิ์ จำปาศรี” เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง
เข้าสู่การเป็นนายตำรวจ
            เมื่อถูกพ่อไล่ออกจากบ้านต้องมาอาศัยอยู่ที่วัดช่องลม หลวงพี่เทียมผู้ให้ความอุปการะก็มาบอกว่า “กองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน มีการเปิดรับสมัครนักศึกษาที่จบชั้น ม.ศ.3 เข้าเป็นนักเรียนนายพลตำรวจเพียง 15 ตำแหน่ง และเมื่อตัดสินใจสอบ สิ่งที่คาดไม่ถึงก็เกิดขึ้นเมื่อ นายสวัสดิ์ สอบได้ที่ 5 จากจำนวน 89 คน หลังสอบได้เป็นพลตำรวจก็ได้เข้าไปฝึกอบรมที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมตำรวจ เป็นเวลา 6 เดือน จากนั้นก็มาอยู่ที่กองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน ย่านนางเลิ้ง 8 ปี และหลังจากเลิกงานประจำก็ได้ใช้เวลาเรียนที่ต่อภาคค่ำที่วิทยาลัยครูนครปฐม สุดท้ายได้ย้ายโอนจนกระทั่งมาจบ ปกศ. ที่วิทยาลัยครูสวนสุนันทา
            จนกระทั่งได้สมรสกับ คุณรัตนา สุวภาพ และมีบุตรสาวด้วยกัน 2 คน จากนั้นจึงได้มาเรียนต่อคณะนิติศาสตร์ ที่วิทยาลัยศรีปทุม และเรียนเนติบัณฑิตอยู่ได้เพียง 1 ปี ทางกรมตำรวจก็ได้เรียกตัวเข้าอบรมเป็นนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 24 จาก ส.ต.อ.สวัสดิ์ จึงได้ติดยศเป็น ร.ต.ต.สวัสดิ์ จำปาศรี เข้ารับตำแหน่งเป็นรองสารวัตรสืบสวนสอบสวนประจำสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน เมื่อปี 2523
ผลงานอันทรงเกียรติ
            ในชีวิตราชการ พ.ต.ต.สวัสดิ์ จำปาศรี ได้รับรางวัลตำรวจมือปราบดีเด่น ประจำกองบัญชาการตำรวจนครบาลถึง 2 ปีซ้อน ขณะดำรงตำแหน่งรองสารวัตรยศร้อยตำรวจเอก และในปี 2531 ได้เป็นรองสารวัตรสืบ 191 รับผิดชอบป้องกันปราบปรามคดีอาชญากรรม จนกระทั่งมารับผิดชอบด้านอบายมุข ก่อนที่จะถูกย้ายไปเป็นรองสารวัตรสืบสวน สน.จักรวรรดิ ในปี 2533 และอีก 8 ปีต่อมา พล.ต.ต.รังสิต ญาโณทัย เจ้านายเก่า ก็ได้เสนอชื่อ ร.ต.อ.สวัสดิ์ ขึ้นเป็น พ.ต.ต. ดำรงตำแหน่งสารวัตรแผนก 1 กอง 4 กองปราบปราม รับผิดชอบพื้นที่ 17 จังหวัดภาคอีสาน ณ เวลานั้น และดูแลอีก 5 จังหวัดทางภาคตะวันออก และอีกเพียง 2 ปีจากผลงานด้านการสืบสวนสอบสวนก็ได้รับการเลื่อนยศเป็น พ.ต.ท. และเป็นสารวัตรสืบสวน สน.หนองค้างพลูอีก 4 ปี และได้เข้ารับการศึกษาเพิ่มเติมในระดับปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จนได้รับตำแหน่งเป็นรองผู้กำกับฯ สน.บางขุนเทียน เป็นครั้งสุดท้าย
จุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ
            เมื่อชีวิตมีการหักเหอีกครั้ง พ.ต.ท.สวัสดิ์ จึงตัดสินใจหันหลังให้กับชีวิตข้าราชการตำรวจแล้วลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.เขต 35 บางขุนเทียน-บางบอน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงตัดสินใจรับราชการอีกครั้งในตำแหน่งรองผู้กำกับการตำรวจสันติบาล และได้รับพระราชทานยศเป็น พ.ต.อ.สวัสดิ์ จำปาศรี
            ถึงแม้จะไม่ประสบความสำเร็จทางการเมือง แต่เมื่อเป็นผู้ที่มีความตั้งใจจริงในการช่วยเหลือประชาชน ตลอดจนได้พิสูจน์ให้เห็นว่าที่ผ่านมา นายตำรวจนักการเมืองผู้นี้มีความซื่อสัตย์ จริงใจ เสียสละ มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงานอย่างแท้จริงทำให้ได้รับการแต่งตั้งจาก หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
 
หน้าที่ของที่ปรึกษาผู้ว่าฯ
            งานที่ท่านผู้ว่าฯ มอบหมายให้ก็คือ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองประธานคณะกรรมการติดตามนโยบายของผู้วาฯ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ฝั่งธนบุรีทั้งหมด 15 เขต พร้อมกับติดตามการทำงานของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักเทศกิจ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร หรือ กอ.รมน.กทม. และประสานงานการทำงานกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
นอกเหนือไปกว่านั้นคือดูแล 15 เขต ในฝั่งธนฯ จาก 50 เขต ทั่วกรุงเทพ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ในฝั่งธนฯ คือกลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย ทุ่งครุ ราษฎร์บูรณะ บางบอน บางขุนเทียน หนองแขม ภาษีเจริญ บางแค และฝั่งกรุงธนเหนือ คือ จอมทอง ธนบุรี คลองสาน บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางพลัด ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ซึ่งทั้ง 15 กลุ่มนี้ต้องเป็นไปตามกรอบนโยบายของท่านผู้ว่าฯ โดยเฉพาะเรื่องการจราจร สิ่งแวดล้อม การศึกษา สุขภาพ เศรษฐกิจ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งจะต้องให้แต่ละสำนักงานเขตได้ดำเนินการตอบรับตามนโยบาย โดยทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการประสานงานและติดตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
 
ลงลึกในรายละเอียด
            ในเรื่องของการดูแลบังคับใช้กฎหมายที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น สนับสนุนเรื่องโครงการเทศกิจจราจร เทศกิจท่องเที่ยว เทศกิจพิทักษ์นักเรียน ส่วนเรื่องป้องกันสาธารณภัยนั้นจะให้ข้อคิดข้อแนะนำ โดยเน้นหนักในเรื่องของความมั่นคง ก็คือความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่ใน กทม. ซึ่งมีอยู่ประมาณ 6 ล้านคน ตามทะเบียนบ้าน และยังมีประชากรแฝงอีก 5 ล้านคนจากทั่วภูมิภาคที่มาจากหลาย ๆ ภาค รวมแล้วประชากรในกทม. มีไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน ซึ่ง กทม.ต้องดูแลทั้งหมดโดยไม่เลือกปฏิบัติ
            ส่วนนโยบายความปลอดภัยนั้นก็มีหลายเรื่องเช่น โครงการอาสาสมัครพิทักษ์คนเมือง เช่น การติดตั้งกล้อง cctv. จำนวน 20,000 ตัว ติดไฟฟ้าส่องสว่างตามจุดเสี่ยงภัย 50,000 ดวง รวมทั้งการจัดตั้งอาสาสมัครรักษาความปลอดภัย โดยการจัดตั้งการกระจายอยู่ทั่ว กทม. ซึ่งมาจากผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ประมาณ 4,000 วิน ที่จดทะเบียน รวมแล้วประมาณ 130,000 คน และแท็กซี่ ที่ประมาณงานแล้วประมาณ 140,000 คน และอพปร. ซึ่งผ่านการอบรมแล้ว 50,000 คน รปภ. อีก จำนวน 2,300 บริษัท นอกจากนั้นก็มีอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยต่างๆ หน่วยกู้ชีพ หน่วยกู้ภัย ให้เป็นเครือข่ายที่เสียสละและมีจิตอาสา เมื่อพบเห็นเหตุร้าย เหตุไม่พึงประสงค์ เขาก็จะมีหน้าที่จดจำตำหนิ รูปพรรณสัณฐานคนร้าย แล้วแจ้งไปยัง 1555 หรือ 191 นอกจากนี้เราก็ยังมีกระบอกเสียงคือศูนย์วิทยุ จส.100 และศูนย์วิทยุการจราจร และ สวพ.91 ซึ่งมีการอบรมไปแล้วส่วนใหญ่
 
ตัวแทนภารกิจผู้ว่าฯ
            หน้าที่ของที่ปรึกษาผู้ว่าฯ อีกอย่างก็คือ ตามงานที่ท่านผู้ว่าฯ มอบหมาย โดยเป็นตัวแทนร่วมงาน ร่วมกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการปรับภูมิทัศน์สนามหลวง ซึ่งมีการประชุมมาตั้งแต่หลายเดือนที่ผ่านมา โดยมีองค์กร หน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมประชุม เพราะการปรับภูมิทัศน์นั้นเกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย กระทรวงแรงงาน ฯ ส่วนคนที่อยู่สนามหลวงและผู้ที่อยู่ใกล้พระบรมมหาราชวัง ก็จะให้พี่น้องที่อยู่รอบๆ นั้นไปพักยังสถานที่จัดเตรียมไว้ให้
ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. ก็มีการเริ่มจับนกพิราบโดยมีสัตวแพทย์จากกรมปศุสัตว์ เป็นผู้อนุบาลนก ซึ่งก็มีเสียงวิพากย์วิจารณ์ต่างๆ พอหลังจาก 15 วันก็ต้องมีการโยกย้ายนกทั้งหมดไปที่ซอยลาดพร้าว 101 จากนั้นจึงเริ่มเอารถ เอาคนไร้บ้าน ออกจากสนามหลวง โดยหาบ้านพักไปตามบ้านประชาบดี ฯลฯ และจะมีการสร้างบ้านเพื่อให้กลุ่มคนที่อยู่ในสนามหลวงได้ให้มีที่อาบน้ำ เพื่อสุขอนามัยที่ดี โดยไปตั้งอยู่ที่บางกอกน้อย ส่วนคนที่มีปัญหาสติไม่ดี ก็จะเอาไปบำบัดรักษา หากมีคนอยากฝึกอาชีพก็ไปฝึกอาชีพที่ กทม. มีแผนรองรับทุกอย่างเอาไว้ แล้ว
พอมาถึงเดือนมีนาคม ปรากฏว่ามีเหตุการณ์บ้านเมืองขึ้นมา ทำให้ต้องชะงักโครงการ ซึ่งเมื่อเหตุการณ์สงบแล้วสำนักโยธาก็จะทำการสร้างที่อยู่ให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน ซึ่งถ้าสนามหลวงสวยงามก็จะเป็นสมบัติของชาติ เช่นงานพระราชพิธีสำคัญๆ ของชาติ ก็ต้องใช้พื้นที่แห่งนี้ โดยจะทำให้เสร็จภายในวันที่ 30 พ.ย. 2553 เพื่อให้ทันรับงานมหามงคล 5 ธันวาคม ในปีนี้ ซึ่งการทำงานทุกอย่างนั้นเป็นไปตามนโยบายของท่านผู้ว่าสุขุมพันธุ์ บริพัตร ในทุกด้าน
            ท้ายสุด พ.ต.อ. สวัสดิ์ จำปาศรี ยังคงยืนยันในความตั้งใจจริงในการทำงาน โดยกล่าวเพียงสั้นๆ แต่มีความหมายอันลึกซึ้งว่า “แม้ผมจะเป็นคนต่างจังหวัด แต่ก็ตั้งรกรากอยู่ฝั่งธนบุรีมากว่า 40 ปี หากมีอะไรก็ขอให้ติดต่อได้โดยตรง ถ้าปัญหาความเดือดร้อนนั้น สามารถแก้ไขได้ทันที ด้วยความมุ่งมั่นตามสโลแกนของท่านผู้ว่าฯ ที่กล่าวว่า “ทั้งชีวิต เราดูแล”
 
 
 
 
 
 
 
 
 
วารสารหยดน้ำ
ฉบับเดือนมีนาคม - เมษายน 2553

 

 




วารสารหยดน้ำ

บุคคลสำคัญ article
ตลาดน้ำคลองลัดมะยม article
มองด้านบวก
ก๋วยเตี๋ยวแคระ “เจ๊โหนก”
การสืบสวนสอบสวนของตำรวจไทย (มะเขือเทศ)
‘เพลินวาน’ย้อนเวลา หาความสุข
คลายร้อนด้วยอาหาร
จากใจกวี..
ออกกำลังกายสบายๆ สไตล์...เบาหวาน
เจ้าสัวทันควัน บำรุงขวัญตำรวจเพื่อประชาชน
ความสุขง่ายๆ หาได้รอบกาย
“มหกรรมหุ่นโคมไฟสวนสยาม”
อิ่มอร่อยสุดๆ ที่ ‘แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา’
เรื่องรับผิดในฐานะส่วนตัว
ทิวลิปนนท์...มนต์เสน่ห์เชื้อชาติฮอลแลนด์ สัญชาติไทย
เสกผิวให้สวยด้วย "เลเซอร์"
มองแง่บวก
10 ที่ท่องเที่ยวในฤดูหนาว
รู้ปัญหา ตั้งใจทำงานเพื่อส่วนรวม
จริงใจทำงาน พัฒนาท้องถิ่น
การวางแผนภาษีมรดก
แนะ 7 สัญญาณที่ผู้ขับขี่ควรรู้ article
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
12 ปี แห่งการใกล้ชิดประชาชน
‘กาหลง’
บันทึกธรรมจาก หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
โรคหัวใจ
ประหยัดภาษี ในธุรกิจแมนชั่นและอพาร์ทเมนต์ได้อย่างไร
ปัญหาประชาชนต้องได้รับการแก้ไข
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย
นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)
กำแพงสีเขียว
การวางแผนภาษี กิจการค้าขายอสังหาริมทรัพย์
มารู้จัก ศูนย์ กศน.เขตจอมทอง กันดีกว่า...
บริการประชาชนคือเป้าหมายการทำงาน
เลิกรบสงบศึก
มารู้จัก ศูนย์ กศน.เขตจอมทอง กันดีกว่า
หยดน้ำใจ สู่แดนใต้
ยาอมตราตะขาบ 5 ตัว ตำนานยาสมุนไพร 2 สัญชาติ
อิ่มบุญ อิ่มใจ สงกรานต์ไทย-รามัญที่วัดบางกระดี่
ภาษีที่ดิน-มรดกไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
ความสุขคือ การเป็นผู้ให้
ว่าว สีสันแห่งคิมหันตฤดู
ข้าวแกงบ้านสวน จุดนัดยามเดินทาง
ล่องเรือชมเกาะ ดูลิงแสม ตลาดน้ำวัดหัวกระบือ
รักประชาชน รักษ์สิ่งแวดล้อม
พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์
ตรุษจีน เทศกาลแห่งความมีโชค
นายตำรวจเปี่ยมคุณธรรม
ทำทุกอย่างเพื่อความสุขของประชาชน article