โครงข่ายถนน ง3
ReadyPlanet.com
dot


  [Help]
dot
Greenway Station
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
Greenway Member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


โครงข่ายถนน ง3
แนวผังเมือง ง3 เชื่อมต่อถนนสุขสวัสดิ์ - พระรามที่ 2 - ถนนสามแยกตากสิน - ถนนเพชรเกษม - ถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้


ง3 สร้างโครงข่ายคล่องตัว ที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก

 

วิกฤตจราจร

ปัจจุบันการเดินทางเชื่อมระหว่างถนนสุขสวัสดิ์ไปถนนพระรามที่ 2 และถนนสายแยกตากสิน – เพชรเกษม ต้องผ่านแยกดาวคะนองและแยกมไหสวรรค์ ซึ่งทั้งสองแยกดังกล่าวมีปริมาณการจราจรสูงในชั่วโมงเร่งด่วน ก่อให้เกิดความล่าช้าในการเดินทางเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ที่อยู่ระหว่างถนนสุขสวัสดิ์ ถนนพระรามที่ 2 และถนนสายแยกตากสิน – เพชรเกษมนั้น ยังขาดเส้นทางโครงข่ายที่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงถนนสายหลักทั้ง 3 สาย เพื่อรับและกระจายติดขัดเป็นอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อโครงการถนนวงแหวนอุตสาหกรรมเปิดใช้บริการ ยิ่งทำให้ปริมาณการจราจรจากถนนพระรามที่ 3 และถนนปู่เจ้าสมิงพรายมุ่งมายังถนนสุขสวัสดิ์มีปริมาณสูงมากยิ่งขึ้น

ดังนั้นการเพิ่มโครงข่ายต่อเนื่องกับโครงการถนนวงแหวนอุตสาหกรรมกับถนนสายหลักอื่นๆ ในพื้นที่บริเวณนี้ จึงมีความจำเป็นด้วยการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อ ซึ่งจะช่วยให้การเดินทางบนนถนนสายหลักมีความคล่องตัวและต่อเนื่องมากขึ้น เป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้เป็นอย่างดี

กรุงเทพมหานครจึงได้ริเริ่ม โครงการก่อสร้างถนนตามแนวผังเมือง ง3 เชื่อมถนนสุขสวัสดิ์ พระรามที่ 2 – ถนนสามแยกตากสิน ถนนเพชรเกษม ถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้ ในการรองรับการเดินทาง และเสริมโครงข่ายฝั่งตะวันตกของพื้นที่กรุงเทพฯ ตอนล่างและกรุงเทพฯ ตอนบนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยช่วยให้การเดินทางบนถนนสายหลัก ได้แก่ ถนนเพชรเกษม ถนนพระรามที่ 2 ถนนสุขสวัสดิ์ ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม รวมทั้งระบบขนส่งอื่นๆ ในพื้นที่มีความคล่องตัว เกิดความต่อเนื่อง และยังจะพัฒนาพื้นที่ปิดล้อมที่ยังขาดโครงข่ายถนนสายรองช่วงถนนพระรามที่ 2 ถนนสุขสวัสดิ์ และถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอกด้านใต้)อีกด้วย

  แม้ในกฎกระทรวงได้กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
  
พ.ศ.2549 ข้อ 39 เรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดง
  โครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฏกระทรวง
ได้กำหนดให้ถนนสาย ง
  มีขนาดเขตทาง
35 เมตร แต่อย่างไรก็ตามในการพัฒนาโครงการ จะ
  พิจารณาเขตทางให้มีความเหมาะสมกับปริมาณการจราจร ระบบขนส่ง
  มวลชน ทางเท้า
ทางจักรยาน รวมทั้งระบบสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวย
  ความสะดวกต่างๆ ด้วย

ต่อเชื่อมการเดินทาง หลากหลายรูปแบบ

การสร้างถนนโครงการจะช่วยลดความหนาแน่นของปริมาณจราจรบนถนนสายหลักที่ต่อเนื่องกัน รวมไปถึงเป็นการส่งเสริมยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร ที่มีแนวคิดในการแบ่งระบบการขนส่งมวลชนของกรุงเทพมหานคร ที่มีแนวคิดในการแบ่งระบบการขนส่งมวลชนของกรุงเทพฯ และพื้นที่ต่อเนื่องออกเป็นเส้นทางหลักและเส้นทางเสริม (Trunk route and Feeder route)ซึ่งกำหนดให้ระบบขนส่งทางราง (รถไฟและรถไฟฟ้า)ทำหน้าที่เป็นเส้นทางหลัก ส่วนระบบรถประจำทางและระบบเรือโดยสารเป็นเส้นทางเสริม

ในอนาคตข้างหน้าเส้นทางสาย ง3นี้จะเอื้อประโยชน์ให้ผู้ใช้ระบบขนส่งมวลชนรูปแบบต่างๆ เชื่อมต่อการเดินทางได้สะดวกรวดเร็วขึ้น ทั้งระบบรถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทาง รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (BRT) และระบบเรือโดยสาร รวมทั้งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้จักรยานในการเชื่อมต่อการเดินทางไปสู่ระบบอื่นๆ


 
แนวเส้นทางที่เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหาการจราจรอย่างยั่งยืน

 แนวเส้นทางของโครงการที่เหมาะสมที่สุดแบ่งเป็น 3 ตอนโดยตอนที่ 1 (ถนนสาย ง3) มีจุดเริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อระหว่างถนนสุขสวัสดิ์กับถนนวงแหวนอุตสาหกรรมไปทางทิศตะวันตกผ่านถนนประชาอุทิศ ถนนพุทธบูชา ไปบรรจบกับถนนพระรามที่ 2 ตอนที่ 2 (ถนนสาย ง2) มีจุดเริ่มต้นจากแนวถนนสาย ง3 บนถนนพระรามที่ 2 ผ่านถนนเอกชัย ถนนกัลปพฤกษ์ข้ามคลองภาษีเจริญ บรรจบกับจุดเชื่อมต่อระหว่างถนนพุทธมณฑลสาย 1 กับถนนเพชรเกษม ส่วนตอนที่ 3 (ถนนสาย ค6) เชื่อมต่อกับถนนสาย ง3 และถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้ (กาญจนาภิเษก)



เขตจอมทองและบางขุนเทียน

เขตทุ่งครุ

เขตภาษีเจริญ

เขตราษฎร์บูรณะ

 

 
 

 




บทความเกี่ยวกับบ้านมือสอง

เรื่องของบ้านมือสอง article
บ้านมือสองกับรอยแตกร้าว
การป้องกันภัยจากการโจรกรรมในบ้าน
ประกาศขายบ้านมือสอง
ถนนสุขสวัสดิ์-ประชาอุทิศ